ขาดความมั่นใจ คิดว่าตัวเก่งไม่จริง ตลอดเวลา จะแก้อย่างไร - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ขาดความมั่นใจ คิดว่าตัวเก่งไม่จริง ตลอดเวลา จะแก้อย่างไร

ทุกคนเมื่อถึงวัยทำงานก็ต้องทำมาหาเลี้ยงชีพตัวเอง ไม่ว่าจะมีการศึกษาสูงต่ำแค่ไหน การทำงานก็เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ ไม่ว่าคุณจะประกอบอาชีพอะไร แต่ปัญหาที่เราจะพูดถึงในครั้งนี้มักเกิดขึ้นกับคนที่มีจบการศึกษาสูง ได้งานการดีๆ ทำ แต่กลับรู้สึกลังเลสงสัยในความสามารถของตัวเองมาตลอด โดยที่ไม่เคยแน่ใจเลยว่าตัวเองเก่งจริงจนคู่ควรกับความสำเร็จที่ได้รับ

คนที่ทำงานมาหลายปี จนได้รับโอกาสเลื่อนขั้น มีตำแหน่งสูงๆ หลายคนมีอาการ “ขาดความมั่นใจในตัวเอง” เช่นนี้เสมอ ความลังเลสงสัยในความสามารถของตัวเองกลายเป็นเครื่องเหนี่ยวรั้งการเติบโตไปข้างหน้าต่อไป ซึ่งอาการเช่นนี้เป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่นักจิตวิทยาเรียกว่า Impostor Syndrome แม้จะไม่มีการยืนยันชัดเจนว่าอาการนี้เป็นอาการป่วยทางจิต แต่ใครก็ตามที่มีอาการนี้ จะก้าวหน้าต่อไปในอาชีพการงานได้ยากนัก เพราะ ความลังเลสงสัยในความสามารถตัวเอง ย่อมทำให้คุณไม่สามารถปลดปล่อยความสามารถที่มีออกมาได้อย่างเต็มศักยภาพ

สัญญาณบ่งบอกถึงอาการ Imposter Syndrome

อาการ Imposter Syndrome เป็นที่พูดถึงมากขึ้นในปัจจุบัน เพราะมีผู้นำองค์กรหลายคนมีอาการนี้จนต้องได้รับคำปรึกษาจากจิตแพทย์เพื่อหาทางออก

จริงๆ แล้วอาการ Imposter Syndrome นั้นถูกค้นพบและนำเสนอไว้ในวงการจิตแพทย์ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1978 แล้ว โดยผู้ที่ทำการศึกษาอาการผิดปกติทางจิตชนิดนี้คือ Pauline Rose Clance และ Suzanne Imes โดยได้มีการนำเสนอทั้งแนวทางการสังเกตอาการ และคำแนะนำสำหรับหาทางออก แต่ก่อนที่จะไปหาทางออก เรามาทำความรู้จักกับสัญญาณที่บ่งชี้อาการ Imposter Syndrome กันก่อน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 10 ข้อ ดังนี้

  • กังขาในความสำเร็จของตัวเองแทบทุกครั้ง ว่าเป็นเพราะความสามารถที่มีหรือโชคช่วย
  • ไม่ค่อยรู้สึกยินดีเมื่อได้รับคำชมเชย ยกย่องในความสำเร็จ
  • ไม่ชอบให้ใครเข้ามาตีสนิท ทำตัวดีด้วยเป็นพิเศษ เพราะรู้สึกอึดอัด รู้สึกว่าตนไม่คู่ควร
  •  นิยมความ Perfect งานที่รับผิดชอบจะต้องเนี๊ยบ ไร้ที่ติ
  • ชอบทำงานหนัก ชอบทำตัวยุ่งเสมอ เพื่อคนอื่นๆ จะได้ไม่สงสัยกับความสามารถ เพราะต้องการแสดงให้คนอื่นรู้ว่าตนคู่ควรแล้วกับความสำเร็จเพราะทำงานหนัก
  • ไม่มีอะไรดีพอ คิดว่าทุกอย่างดีได้กว่านี้เสมอ
  • มีความวิตกกังวลสูง ส่วนใหญ่จะไม่ได้กังวลกับงานที่กำลังทำ แต่กังวลกับงานที่ยังไม่ได้ทำซะมากกว่า
  • ชอบตั้งเป้าหมายไว้สูงเสมอ บางครั้งก็สูงเกินจะเอื้อมถึง
  • รู้สึกกระอักกระอ่วนใจเมื่อต้องขอความช่วยเหลือจากใครสักคน
  • แม้คนรอบตัวจะมองว่าเป็นผู้เชี่ยวชาญ แต่กลับรู้สึกว่าตัวเองยังเก่งไม่พอ ฉลาดไม่พอ ประสบการณ์ไม่มากพอเสมอ

และนี่ก็คือ 10 ข้อที่เป็นสัญญาณบ่งบอกถึงอาการ Imposter Syndrome ใครที่มีสัญญาณเหล่านี้เกินครึ่ง แสดงว่าคุณมีความเป็นไปได้ที่จะต้องได้รับการเยียวยาหาทางออกแล้วล่ะ

วิธีการหาทางออกสำหรับผู้มีอาการ Imposter Syndrome

แม้ว่าอาการ Imposter Syndrome จะไม่ได้รับการยอมรับทางจิตเวชว่าเป็นอาการป่วยทางจิต แต่มันก็ถือเป็นอาการทางจิตชนิดหนึ่งที่ฉุดรั้งความเจริญก้าวหน้าไว้มาก ดังนั้นหากจะมีการให้คำปรึกษาเบื้องต้นเพื่อหาออกจากการทางจิตชนิดนี้ ก็คงต้องทำตามคำแนะนำ 6 ข้อต่อไปนี้

  • ยอมรับว่าตนมีอาการ Imposter Syndrome แล้ว ก้าวต่อไป หากไม่ยอมรับก็จะจมปลัก ไม่ก้าวไปไหนซักที
  • ยอมรับว่าไม่มีอะไรสมบูรณ์แบบ แม้กระทั่งตัวเราเอง ปล่อยวางบ้าง เดินทางสายกลาง
  • ยอมรับคุณค่าของตัวเอง ยอมรับในความสามารถของตนเอง ยอมรับในความสำเร็จ เชื่อเสมอว่าเราคู่ควรแล้ว
  • ยอมรับในคุณค่าของคนอื่น เปิดใจ ยอมรับความยินดีที่คนอื่นมีให้
  • ปรับ Mind Set มองคนอื่นในแง่ดี มองโลกในแง่บวกบ้าง
  • ใฝ่เรียนรู้ตลอดชีวิต นำความรู้มาปรับใช้ให้ประสบความสำเร็จ ครั้งแล้วครั้งเล่า จนเกิดความมั่นใจในความสามารถตัวเอง  

และนี่ก็คือ 6 ข้อแนะนำเบื้องต้นสำหรับเป็นทางออกให้กับอาการ Imposter Syndrome ที่เราอยากแนะนำให้ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์ต่อชาว The Macho ทุกคน และมันจะดีกว่านี้หากได้รับคำแนะนำดีๆ จากจิตแพทย์ เมื่อรู้ว่ามีอาการ สำหรับใครที่กำลังประสบกับอาการทางจิตชนิดนี้ก็ขอให้สู้ๆ ก้าวผ่านพ้นมันไปให้ได้  

Sujate Wanchat

What one man calls God, another calls the laws of physics.

วิศวกร นักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ นักเขียนบทความ ชอบติดตามโลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย เรื่องราวการท่องเที่ยวผจญภัย มนุษย์ต่างดาว และสาวๆ เซ็กซี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save