"อิคิไก" หลักการบริหารงานประสิทธิภาพสูงของคนญี่ปุ่น เน้นความสมดุล มีชีวิตชีวา - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
“อิคิไก” หลักการบริหารงานประสิทธิภาพสูงของคนญี่ปุ่น เน้นความสมดุล มีชีวิตชีวา

ญี่ปุ่นเป็นชาติมหาอำนาจที่ประสบความสำเร็จในเรื่องต่างๆ สร้างความน่าทึ่งโลก ไม่ว่าจะด้วยเรื่องเทคโนโลยีที่ทันสมัย สภาพความเป็นอยู่ บ้านเมืองที่สะอาดสะอ้าน ผู้คนมีวินัย กระฉับกระเฉงมีชีวิตชีวา

แม้ว่าเราจะมองว่าชาวญี่ปุ่นดูเคร่งเครียดกับงานมากเกินไป ดูเหมือนว่าพวกเขาจริงจังกับชีวิตจนคนไทยหลายคนถึงกับเอ่ยปากว่าไม่สามารถใช้ชีวิตแบบคนญี่ปุ่นได้

แต่เพื่อนๆ ทราบมั้ยว่า เบื้องหลังที่เราเห็นว่าชาวญี่ปุ่นเคร่งเครียด ทุ่มเทกับงานนั้น จริงๆ แล้วพวกเขาไม่ได้เครียดมากมายอะไรหรอก แต่เขากำลังใช้ชีวิตอย่างสมดุลกล่าวคือ เวลาทำงานก็ทำเต็มที่ ส่วนนอกเวลางานพวกเขาก็พักผ่อนเต็มที่เช่นกัน โดยหลักการใช้ชีวิตส่วนตัว และการทำงานอย่างสมดุลที่พวกเขาเลือกใช้ก็คือ หลัก “อิคิไก” ซึ่งหลักนี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้กับการบริหารธุรกิจเป็นอย่างดี เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ เพื่อนๆ คงอยากจะทราบกันแล้วใช่มั้ยล่ะว่า อิคิไก คืออะไร และเพื่อไม่เป็นการเสียเวลา เรามาดูกันเลยครับ

ความหมายของ “อิคิไก”

อิคิไก เป็นคำในภาษาญี่ปุ่นที่เกิดจากการนำคำ 2 คำมารวมกัน คือคำว่า อิคิรุ (Ikiru) ที่แปลว่าการใช้ชีวิต และคำว่า ไก (Gai) ที่แปลว่า คุณค่า เมื่อนำสองคำนี้มารวมกันจึงเกิดความหมายใหม่ขึ้นมาก็คือ การค้นหาความหมายของการมีชีวิตอยู่ ดังนั้นหลัก อิคิไก ก่อเกิดจากการตั้งคำถาม 4 คำถาม เพื่อให้คนญี่ปุ่นได้หาคำตอบ และคำตอบที่ได้จะเป็นตัวกำหนดชะตาชีวิตของพวกเขา อะไรคือสิ่งที่เรารัก ชอบ และมีความสุขที่ได้ทำ (What you love ?) อะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกและผู้อื่น (What the world needs ?) อะไรสิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา (What you can be paid for ?) และอะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดีกว่าคนอื่นๆ (What you are good at ?) และด้วยคำถามเหล่านี้สามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการบริหารงานในธุรกิจได้ เพราะมันได้ก่อให้เกิด 4 แกนหลักการบริหารธุรกิจที่คนญี่ปุ่นใช้กันดังนี้

Passion

Passion ก็คือ แรงบันดาลใจ ซึ่งหลายคนก็ทราบความหมายกันดีอยู่แล้ว โดย Passion นี่เองจะเป็นสิ่งที่มาตอบคำถามว่า อะไรคือสิ่งที่เรารัก ชอบ และมีความสุขที่ได้ทำ?  และในทางธุรกิจ Passion ก็คือเสาหลักที่บอกว่าตัวธุรกิจของเราคืออะไร ตัวธุรกิจของเราจะประสบความสำเร็จตามเป้าหมายด้วยวิธีไหน เสาหลักต้นนี้จะเป็นตัวที่มอบความสุขในการทำงานให้กับทุกคนในองค์กร แม้เวลาที่ต้องเผชิญกับความยากลำบาก เพราะเมื่อทุกคนทำงานอย่างมีความสุขร่วมกัน มี Passion แบบเดียวกันแล้ว ทุกคนย่อมทุ่มเททำงานด้วยใจรัก หมดทั้งกายและใจแบบไม่ต้องฝืนใจทำ

Mission

Mission ความหมายเมื่อแปลเป็นไทยก็คือ พันธกิจ เป็นตัวที่จะมาตอบคำถามว่า อะไรคือสิ่งที่มีประโยชน์ต่อโลกและผู้อื่น? เพราะทุกธุรกิจจะอยู่ได้จำเป็นต้องมีคุณค่าในตัวเอง คุณค่าของธุรกิจจึงอยู่ที่พันธกิจในการตอบโจทย์ให้กับสังคม ไม่ว่าจะเป็นการส่งมอบสินค้า และบริการต่างๆ ที่เป็นที่ต้องการเพื่อมอบความสุข และพัฒนาคุณภาพความเป็นอยู่ของสังคมให้ดียิ่งขึ้น เราจึงเห็นได้ว่าทุกธุรกิจจะมีสินค้า บริการ และภาระหน้าที่ตามความเชี่ยวชาญสอดคล้องกับพันธกิจที่ธุรกิจได้ตั้งไว้   สะท้อนออกมาเป็นการทำ CSV (Creating shared value) หรือ SB (Sustainability brand)

Vocation

Vocation ก็คือรายได้ ซึ่งเสาหลักต้นนี้จะมาตอบคำถามว่า อะไรคือสิ่งที่สร้างรายได้ให้เรา? เพราะรายได้เป็นสิ่งสำคัญของทุกธุรกิจ เพราะมันจะมาหล่อเลี้ยงให้ธุรกิจสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ ธุรกิจที่ขาดรายได้ ขาดสภาพคล่องทางการเงินย่อมดำเนินต่อไปอย่างยากลำบาก และอยู่ในสภาวะไม่มั่นคง ซึ่งจะส่งผลบั่นทอนสภาพจิตใจของทุกคนในองค์กร

รายได้ที่ดีนั้นก็ย่อมเป็นผลมาจากพันธกิจที่แข็งแกร่งซึ่งบ่งบอกว่ากิจการได้ส่งมอบสินค้า บริการ และการแก้ไขปัญหาต่างๆ แก่สังคมจนเป็นที่พึงพอใจ จึงสมควรแล้วที่จะได้รับผลตอบแทนเป็นรายได้อย่างสมน้ำสมเนื้อเพื่อเอาไวหล่อเลี้ยงธุรกิจ และขยายกิจการให้รุ่งเรืองต่อไป

Profession

เรามาปิดท้ายที่เสาหลักต้นสุดท้าย  ก็คือ Profession เมื่อแปลเป็นไทยแล้วก็จะหมายถึง ความเชี่ยวชาญ ซึ่งมันจะมาตอบคำถามที่ว่า อะไรคือสิ่งที่เราทำได้ดีกว่าคนอื่นๆ? นี่คือเสาหลักที่จะมาสร้างเอกลักษณ์ความโดดเด่นให้กับกิจการ หากกิจการใดไม่แสดงให้สังคมได้รับรู้ถึงความเชี่ยวชาญด้านใดด้านหนึ่งแล้ว กิจการนั้นก็เป็นกิจการทั่วๆ ไปที่ไม่มีจุดเด่นอะไรให้จดจำ

แต่กิจการใดที่สามารถชูความเชี่ยวชาญ เป็น Professional ในด้านใดด้านหนึ่งได้แล้ว กิจการนั้นก็จะมีความเชี่ยวชาญนั้นเป็นจุดแข็งเรียกลูกค้าได้ไม่ยาก เช่น หากนึกถึงรถยนต์ญี่ปุ่นคุณภาพดี ราคาถูก คุ้มค่า บริการเป็นเลิศ ทุกคนก็จะนึกถึง Toyota เป็นแบรนด์แรก หรือ หากนึกถึงบริษัทผลิตเครื่องเล่นเกมที่ดีที่สุดของญี่ปุ่น ทุกคนก็จะนึกถึง Sony และ Nintendo เป็นเจ้าแรกๆ

และนี่ก็คือหลัก อิคิไก ที่ถูกนำมาปรับใช้กับธุรกิจที่เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหนุ่มสาววัยทำงานที่อยากเป็นเจ้าของธุรกิจกันทุกคน เหมือนอ่านจบแล้วเพื่อนๆ คงเห็นว่ามันเป็นหลักการสร้างธุรกิจที่ดีซึ่งสามารถนำมาปรับใช้ได้กับทุกกิจการเลยใช่มั้ยล่ะ และหากคุณคิดว่ามีประโยชน์ก็สามารถนำไปปรับใช้กับธุรกิจของคุณได้เลย

Sujate Wanchat

What one man calls God, another calls the laws of physics.

วิศวกร นักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ นักเขียนบทความ ชอบติดตามโลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย เรื่องราวการท่องเที่ยวผจญภัย มนุษย์ต่างดาว และสาวๆ เซ็กซี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save