เปิดที่มาของบทเพลงอันทรงพลัง ‘Do You Hear the People Sing?’ ที่อยู่คู่การต่อสู้ทางการเมืองมาทุกยุคสมัย - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
เปิดที่มาของบทเพลงอันทรงพลัง ‘Do You Hear the People Sing?’ ที่อยู่คู่การต่อสู้ทางการเมืองมาทุกยุคสมัย

ในช่วงเวลาที่โลกเต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องสิทธิเสรีภาพที่ประชาชนพึงมี Do You Hear the People Sing? ถือเป็นหนึ่งในบทเพลงสำคัญที่ถูกนำมาใช้ในการขับร้องประกอบการเรียกร้องสิทธิมากที่สุด ด้วยความหมายของเนื้อเพลงที่เป็นการเล่าถึงความเกรี้ยวโกรธของประชาชนที่ถูกกดขี่จากการใช้อำนาจที่ไม่เป็นธรรม อีกทั้งเนื้อร้องและทำนองยังมีส่วนช่วยกระตุ้นให้ผู้ฟังรู้สึกฮึกเหิมในการลุกขึ้นมาต่อสู้กับความอยุติธรรมอย่างมีหวัง 

บทเพลงที่ว่าด้วยการต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพอันทรงพลังนี้แต่งขึ้นโดย Claude-Michel Schönberg เพื่อใช้ในการแสดงละครเวทีเรื่อง Les Misérables หรือที่คนไทยรู้จักกันดีในชื่อว่า เหยื่ออธรรม ละครเวทีเรื่องดังกล่าวถูกดัดแปลงมาจากวรรณกรรมฝรั่งเศสที่เขียนโดย วิกตอร์ อูโก (Victor Hugo) นักเขียนผู้ต่อสู้เพื่อสิทธิและเสรีภาพที่มีชีวิตอยู่ในช่วงปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ตลอดกาลของฝรั่งเศสที่เป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบกษัตริย์ให้กลายเป็นระบอบการปกครองแบบสาธารณรัฐ

Source : francetoday

ในปี 2012 Les Misérables ถูกนำกลับมาตีแผ่ใหม่อีกครั้งผ่านจอภาพยนตร์ ที่กำกับโดยทอม ฮูเปอร์ (Tom Hooper) ผู้กำกับรางวัลออสการ์ โดยมีซีนสำคัญที่ประชาชนลุกขึ้นมาต่อกรกับความไม่เป็นธรรม พร้อมเปร่งเสียงร้องเพลง Do You Hear the People Sing? อย่างกึกก้อง ซึ่งเนื้อเพลงที่ใช้ในการประกอบภาพยนตร์ทั้งหมดนั้นถูกแปลจากภาษาฝรั่งเศสให้กลายเป็นภาษาอังกฤษ โดยเฮอร์เบิร์ต เครชเมอร์ (Herbert Kretzmer) นักเขียนชาวอังกฤษ จากนั้นบทเพลงดังกล่าวจึงถูกนำมาใช้ในกิจกรรมทางการเมืองอย่างแพร่หลายทั่วโลก ไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทย

Do You Hear the People Sing? ในเวอร์ชันภาษาอังกฤษที่ใช้ประกอบภาพยนตร์ Les Misérables

ครั้งแรกที่ประเทศไทยมีการนำบทเพลงสุดคลาสสิกนี้มาใช้ก็คือ หลังการสลายการชุมนุมของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) หรือกลุ่มคนเสื้อแดง ในปี 2553 โดยมีการนำเนื้อเพลงมาแปลเป็นภาษาไทยเพื่อต้องการฟื้นฟูสภาพจิตใจของประชาชนหลังเหตุการณ์นองเลือด 

อีกทั้งในปี พ.ศ. 2557 บทเพลง Do You Hear the People Sing? ก็ถูกนำกลับมาใช้อีกครั้งเพื่อแสดงความเกรี้ยวโกรธของประชาชนในช่วงการชุมนุมของกลุ่มคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงปฏิรูปประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์แบบอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือกลุ่มกปปส. เพื่อคัดค้านพ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร

Do You Hear the People Sing? ในเวอร์ชันภาษาไทยที่ใช้ประกอบละครเวที

และเมื่อวันที่ 16 สิงหาคมที่ผ่านมา บทเพลงดังกล่าวก็ถูกนำมาขับขานขึ้นอีกครั้งที่หน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ในการชุมนุมของกลุ่ม ประชาชนปลดแอก เพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลหยุดคุกคามประชาชนรวมถึงให้รัฐบาลปฏิบัติตามข้อเรียกร้อง 10 ประการของกลุ่มสนับสนุนประชาธิปไตย แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จัดชุมนุมขึ้นภายใต้ชื่อกิจกรรมว่า “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” เมื่อค่ำวันที่ 10 สิงหาคมที่ผ่านมา 

แม้ว่าเพลงนี้จะถูกนำไปใช้ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่หลากหลายอุดมการณ์ แต่ท้ายที่สุดแล้ว ความหมายที่ตรงตามบริบทดั้งเดิมหรืออุดมการณ์ของผู้ประพันธ์มากที่สุดมีเพียงอย่างเดียวเท่านั้นก็คือ การปลุกผู้คนให้รวมกันเป็นหนึ่งเพื่อต่อสู้กับความอยุติธรรม

เนื้อเพลง “Do you hear the people sing?

“Do you hear the people sing?

Singing the songs of angry men?

It is the music of the people

Who will not be slaves again

When the beating of your heart

Echoes the beating of the drums

There is a life about to start

When tomorrow comes”

Do you hear the people sing?

– Les Misérables

Text – Skyscraper

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save