'ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า' อีกหนึ่งมาตรการร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากภาครัฐในอนาคต - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
‘ลดภาษีรถยนต์ไฟฟ้า’ อีกหนึ่งมาตรการร่วมด้วยช่วยกันแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 จากภาครัฐในอนาคต

รถยนต์พลังงานไฟฟ้าถือเป็นนวัตกรรมที่ภาครัฐและอุตสาหกรรมยานยนต์ทั่วโลกกำลังมุ่งพัฒนากันอย่างขมักเขม้นเพื่อในอนาคตการใช้ยานพาหนะจะได้ไม่ส่งผลโดยตรงต่อปัญหามลพิษทางอากาศ ซึ่งจัดว่าเป็นปัญหาที่หัวเมืองใหญ่ทั่วโลกกำลังเผชิญอยู่  

องค์การอนามัยโลก ระบุว่ามลพิษทางอากาศทำให้แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตก่อนวัยอันควรราว 7 ล้านคน เพราะภายในควันรถยนต์ที่ปล่อยออกมานั้นประกอบไปด้วยคาร์บอนมอนอกไซด์ ไฮโดรคาร์บอน ออกไซด์ของไนโตรเจน สารตะกั่วในน้ำมัน และกํามะถัน อันส่งผลเป็นพิษต่อมนุษย์โดยตรง

ไทยรัฐ

ผลการวิจัยจากสถาบันคุ้มครองสิ่งแวดล้อมแห่งสหรัฐอเมริกา (EPA) ระบุว่า 75 % ของมลพิษคาร์บอนมอนอกไซด์เกิดจากรถยนต์ นอกจากนี้ยังมีการยืนยันด้วยว่า 1 ใน 3 ของมลพิษรวมถึงฝุ่นละอองและควันก็มาจากรถยนต์เช่นเดียวกัน

แม้ปัจจุบันจะมีเทคโนโลยีใหม่ที่ผลิตรถยนต์รักษ์สิ่งแวดล้อม อาทิ รถยนต์ไฟฟ้า รถยนต์ไฮบริด และรถยนต์พลังงานทางเลือก แต่ปริมาณรถยนต์ทั่วโลกเฉลี่ยแล้วรถประเภทที่ใช้เชื้อเพลิงเบนซินและดีเซลก็ยังเป็นรถส่วนใหญ่ในตลาดโลกอยู่ดี นั้นเท่ากับว่าด้วยปริมาณรถยนต์ที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆในปัจจุบันส่งผลให้ก่อมลพิษเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง และถึงปัญหาฝุ่นละอองจะบางเบาลงแล้วในกรุงเทพฯ แต่ไม่นานเกินรอเดี๋ยวปัญหานี้ก็วนกลับมาอีกหากทางรัฐยังไร้มาตรการจริงจังในการแก้ปัญหาระยะยาวมากกว่าการแก้ปัญหาเฉพาะหน้า

Autodeft

ล่าสุดทางกระทรวงการคลังไม่ได้นิ่งนอนใจกับปัญหานี้โดยพยายามผลักดันนโยบายปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์แบบพลังงานไฟฟ้า รถยนต์กระบะ และรถยนต์กระบะ 4 ประตูต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อกระตุ้นให้ผู้ประกอบอุตสาหกรรมรถยนต์เร่งพัฒนามาตรฐานการปล่อยมลพิษในรถยนต์ดีเซลให้สามารถลดค่าฝุ่น PM 2.5 ได้ตามมาตรฐานเร็วยิ่งขึ้น

โดยคาดว่านโยบายนี้จะสามารถช่วยลดค่าเฉลี่ยการปล่อยฝุ่น PM 2.5 จากรถยนต์ลงได้ถึง 5 เท่า หรือประมาณ 76 ล้านกรัมต่อปี ทั้งยังช่วยผลกระทบด้านสุขภาพของประชาชนและค่าใช้จ่ายภาครัฐอันสืบเนื่องมาจากการรักษาพยาบาลได้ด้วย

เมื่อวันที่ 5 มีนาคมที่ผ่านมามาดๆ รัฐมนตรีการคลังได้เปิดเผยว่าขณะนี้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบกับนโยบายดังกล่าวแล้ว โดยส่วนแรกจะยกเว้นภาษีรถยนต์ไฟฟ้าลงเหลือ 0% เป็นเวลา 3 ปี นับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2563 ถึง 31 ธันวาคม 2565 กลังจากนั้นจะกลับไปใช้มาตรการเดิมของสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนที่เคยกำหนดปรับลดอัตราภาษีไว้ 2% ในปี 2566  ส่วนรถยนต์กระบะที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซลมีค่าฝุ่น PM 2.5 ไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตรหรือรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซล B20 ได้ จะปรับลดภาษีลงตามประเภทเครื่องยนต์เพื่อสนับสนุนให้เกิดการใช้รถยนต์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ซึ่งการดำเนินการทั้งหมดนั้นคาดว่าจะสูญรายได้ไม่เกินปีละ 1,500 ล้านบาท

Pixabay

รองโฆษกกรมสรรพสามิตได้เสริมเรื่องนี้ว่า การที่คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการปรับลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์เพื่อให้สอดรับกับนโยบายการลดฝุ่น PM 2.5  ซึ่งว่าจะทำให้ต้นทุนทางภาษีของผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในปี 2563-2565 รวมถึงผู้ผลิตรถกระบะที่ใช้เครื่องยนต์ที่ปล่อยฝุ่นพีเอ็มไม่เกิน 0.005 กรัมต่อกิโลเมตร และรถยนต์ที่ใช้น้ำมันดีเซลบี 20 ลดลง โดยประเมินว่าหากรถราคาคันละ 1 ล้านบาท จะลดลงถึงคันละ 2-3 หมื่นบาท และหากค่ายรถมีการทำโปรโมชันราคาก็จะลดลงได้อีก ซึ่งช่วยกระตุ้นให้คนไทยหันมาใช้รถยนต์ไฟฟ้าได้มากขึ้น

ถึงจะเป็นเรื่องดีที่ภาษีรถยนต์ไฟฟ้ากำลังจะถูกปรับลดลงแต่หลายคนคงตั้งคำถามขึ้นมาในใจว่าแล้วประเทศไทยมีความพร้อมขนาดไหนสำหรับรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าประเด็นนี้เราเคยพูดถึงเอาไว้แล้วในบทความก่อนหน้า (คลิก) ซึ่งหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต่างก็มีนแนวทางเร่งขยายความพร้อมเพื่อรองรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้าอยู่ไม่น้อยเลย

Source : 1|2|3

ไขทุกข้อข้องใจ..ประเทศไทยพร้อมแค่ไหนสำหรับการใช้รถยนต์ไฟฟ้า คลิกที่นี่

Suthamat
The girl with flowers tattoo

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save