Bill-E นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่จะมาปฏิวัติวงการก่อสร้างในอนาคต - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
Bill-E นวัตกรรมหุ่นยนต์ที่จะมาปฏิวัติวงการก่อสร้างในอนาคต

แม้ว่างานก่อสร้างจะเป็นงานที่มีความซับซ้อน ต้องใช้แรงงานเป็นจำนวนมากทำให้ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีต่างๆ มากมายเข้ามาช่วยเหลือเพื่อให้งานก่อสร้างเป็นไปได้อย่างสะดวก รวดเร็ว และมีมาตรฐานยิ่งขึ้น

เช่นในครั้งนี้ที่เรากำลังจะพาเพื่อนๆ ทุกคนมารู้จักเทคโนโลยีก่อสร้างรูปแบบใหม่ที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นเพื่อให้หุ่นยนต์ตัวเล็กๆ เข้ามามีบทบาทในงานก่อสร้างโครงสร้างที่มีความซับซ้อน ซึ่งเทคโนโลยีนี้มีชื่อว่า BILL-E โดยหุ่นยนต์จิ๋วพวกนี้มีแนวโน้มที่จะถูกนำไปใช้ก่อสร้างในอุตสาหกรรมการบินและอวกาศในอนาคตอันใกล้นี้ด้วย ซึ่งเรื่องราวความน่าสนใจของ BILL-E จะเป็นอย่างไร ใครอยากรู้ ก็ตามมาอ่านกันเล้ยย

ที่มาที่ไปของโครงการหุ่นยนต์ก่อสร้าง BILL-E

ศูนย์เทคโนโลยี Bits & Atoms ของ Massachusetts ได้เล็งเห็นความสำคัญของงานก่อสร้าง และพบสิ่งที่เป็นอุปสรรคในโครงการก่อสร้างแต่ละโครงการที่ผ่านมาเป็นจำนวนมาก ไม่ว่าจะเป็นการก่อสร้างโครงสร้างถาวรหรือโครงสร้างของยานพาหนะเคลื่อนที่ขนาดใหญ่ และเพื่อทะลายอุปสรรคต่างๆ เหล่านี้ให้หมดไป ทีมงานจึงได้อาศัยความก้าวหน้าของเทคโนโลยีหุ่นยนต์ในปัจจุบันออกแบบระบบหุ่นยนต์จิ๋วเพื่อทำงานร่วมกันในการก่อสร้าง จึงกลายเป็นที่มาของโครงการ BILL-E นั่นเอง

โดยทั่วไปแล้วทีมงานอยากให้พวกเราทุกคนมองว่าหุ่นยนต์จิ๋ว Bill-E คือช่างก่อสร้างหุ่นยนต์ซึ่งเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้น  โดยชื่อ “BILL-E” นี้เป็นคำย่อมาจากคำว่า Bipedal Isotropic Lattice Locomoting Explorer และมีการเล่นตัวอักษรให้มีความใกล้เคียงกับคำว่า WALL-E ซึ่งเป็นหุ่นยนต์น่ารักๆ ในหนังไซไฟที่โด่งดัง

วิธีการทำงานของหุ่นยนต์ช่างก่อสร้าง BILL-E

ลักษณะโครงสร้างของหุ่นยนต์ BILL-E จะมีเล็กๆ สองข้างมีบานพับอยู่ตรงกลาง ที่บริเวณปลายของแขนทั้งสองข้างจะมีตัวจับยึดที่เรียกว่า voxels เวลาเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งต่างๆ ในโครงสร้างก็จะกระดื้บๆ คล้ายตัวหนอนนั่นเอง 

สิ่งที่หุ่นยนต์ BILL-E ทำบนโครงสร้างของสิ่งก่อสร้างก็คือการสำรวจพื้นที่แบบ 3D โดยมีระบบที่ซับซ้อนของกล้องเซ็นเซอร์และอัลกอริทึมทางคอมพิวเตอร์ ซึ่งมันจะสามารถระบุตำแหน่งของตัวมันเองได้แบบเรียลไทม์  จากนั้นจะทำการ จัดเรียงประกอบโครงสร้างที่ตำแหน่งพิกัดต่างๆ ที่มันได้รับมอบหมาย

ดังนั้นในระหว่างงานก่อสร้าง เราจะเห็นหุ่นยนต์ BILL-E เข้าไปขลุกอยู่กับตัวโครงสร้างเป็นจำนวนมาก คล้ายกับมดปลวกที่ช่วยกันทำรังนั่นเอง โดยมันจะค่อยนำชิ้นส่วนวัสดุทีละเล็กละน้อยมากประกอบกันจนกลายเป็นโครงสร้างขนาดใหญ่ได้อย่างง่ายดายตามโปรแกรมที่ถูกออกแบบไว้ นอกจากนี้มันยังมีราคาไม่แพงด้วยเมื่อเทียบกับระบบการสร้างโครงสร้างด้วยหุ่นยนต์แขนกลที่อยู่ประจำตำแหน่งทำงานหน้าที่ใครหน้าที่มันที่เรามักเห็นในโรงงานขนาดใหญ่  

ข้อได้เปรียบของระบบหุ่นยนต์ก่อสร้าง BILL-E ที่เหนือกว่าระบบเก่า

อย่างแรกที่วิเศษสุดๆ ไปเลยก็คือระบบการทำงานของฝูงหุ่นยนต์ BILL-E นั้นสามารถปรับเปลี่ยนได้ง่าย สามารถปรับแก้โปรแกรมการก่อสร้างได้ตามที่ใจต้องการโดยไม่ต้องเซ็ตระบบใหม่ทั้งโรงงานเหมือนระบบหุ่นยนต์ในโรงงานประกอบรถยนต์ทั่วไป  โดยซอฟต์แวร์สำหรับการเขียนโปรแกรมจะช่วยให้วิศวกรผู้ควบคุมฝูงหุ่นยนต์ BILL-E สามารถโยกแรงงานจากการก่อสร้างโครงสร้างหนึ่ง ไปทำงานก่อสร้างในอีกโครงสร้างหนึ่งที่แตกต่างกันได้อย่างง่ายดาย

ประการต่อมาคือ การชำรุดเสียหายของหุ่นยนต์ BILL-E  นั้นน้อยมาก ส่วนมากจะเกิดขึ้นที่ voxel ซึ่งวิธีการซ่อมแซมก็แค่เปลี่ยน voxel ใหม่ทดแทนของเดิมที่ชำรุดไปเท่านั้นเอง นอกจากนี้พวกมันยังก่อสร้างกันแบบเงียบๆ เบาๆ ไม่โครมคราม จึงปลอดภัย

และด้วยข้อดีทั้งหมดที่ว่ามานี้ทำให้หุ่นยนต์ BILL-E อย่างยิ่งที่จะนำไปใช้ในอวกาศ โดยเฉพาะในสถานีอวกาศและยานอวกาศที่ต้องมีการออกไปซ่อมแซมตัวยานและสถานีอยู่เป็นประจำ เนื่องจากเจ้า BILL-E หลายๆ ตัวนั้นสามารถอยู่บนโครงสร้างที่สามารถเคลื่อนย้ายเพื่อซ่อมแซมส่วนต่างๆ ได้ตามความต้องการนั่นเอง

และนี่ก็คือหุ่นยนต์ช่างก่อสร้าง BILL-E ที่เราอยากแนะนำให้เพื่อนๆ ได้รู้จักในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะโดนใจคอเทคโนโลยีกันทุกคนนะครับ จะเห็นได้ว่านี่คือเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากๆ เลยใช่มั้ยล่ะ และในอนาคตอันใกล้นี้เราอาจจะได้เห็น BILL-E ถูกนำมาออกแบบใช้งานโครงสร้างของตัวอาคารก็เป็นได้ เพราะตอนนี้โครงการ BILL-E  ได้รับความสนใจจากหลายๆ องค์กรแล้ว ยกตัวอย่างเช่น NASA ที่จะร่วมมือกับหุ่นยนต์ Bill-E ในการตะลุยอวกาศอย่างแน่นอน นอกจากนี้ยังมี Airbus ที่สนใจจะนำ BILL-E ไปใช้ในอุตสาหกรรมการสร้างเครื่องบินด้วยนั่นเอง

ที่มาEngadget

Sujate Wanchat

What one man calls God, another calls the laws of physics.

วิศวกร นักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ นักเขียนบทความ ชอบติดตามโลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย เรื่องราวการท่องเที่ยวผจญภัย มนุษย์ต่างดาว และสาวๆ เซ็กซี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save