ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ "กรุงเทพมหานคร" ยุคล่มสลาย - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ยินดีต้อนรับทุกท่านเข้าสู่ “กรุงเทพมหานคร” ยุคล่มสลาย

หากเราเคยจินตนาการโลกอุดมคติอันแสนสดใส (Utopia) มีเทคโนโลยีล้ำๆ พร้อมหุ่นยนต์คอยรับใช้ สิ่งตรงกันข้ามก็คือโลกสุดดาร์คยุคดิสโทเปีย (Dystopia) ที่ไม่มีใครอยากให้เกิดขึ้น

สภาพสังคมยุคนั้นอาจปกครองด้วยระบบเผด็จการ เกิดสงคราม ความอดยาก หรือการกดขี่ เหมือนภาพยนต์เรื่อง Mad Max: Fury Road, The  Hunger Games, Divergent หรือ Artificial Intelligence ไม่ก็อาจมาในรูปแบบภัยพิบัติทางธรรมชาติล้างโลกคำถามคือ..แล้วถ้า “กรุงเทพมหานคร” จุดหมายอันดับหนึ่งของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ เดินทางเข้าสู่ยุคหายนะ คุณคิดว่าจะออกมาเป็นภาพแบบไหน?

ในปี ค.ศ. 2009 นักเขียนชาวอเมริกัน Paolo Bacigalupi ได้แต่งนวนิยายเรื่อง “The Windup Girl”  เกี่ยวกับกรุงเทพฯ ยุคล้มสลาย และกวาดรางวัลไปมากมายทั้ง Nebula Award, Hugo Award, Best novel และ Locus Award

The Windup Girl ใช้กรุงเทพฯ เป็นฉาก พูดถึงยุคล่มสลายหลังจากประสบกับความหายนะด้านสิ่งแวดล้อม การเกิดภาวะโลกร้อนทำให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้นท่วมมหานครหลายเมืองให้ดำดิ่งสู่ท้องทะเล ความชื้นที่ตามมาเอื้ออำนวยให้สนิมมีความรุนแรงสามารถกัดกินเหล็กทุกชนิดได้อย่างรวดเร็ว ส่งผลให้เกิดปัญหาขาดแคลนพลังงานทดแทน กระบวนการเผาไหม้จึงต้องหันกลับไปใช้ถ่านหิน ก๊าซมีเทน แรงงานมนุษย์ และสัตว์แบบในอดีต

ซ้ำร้ายไปกว่านั้น โรคระบาดสายพันธุ์ใหม่ยังคร่าทุกสิ่งมีชีวิตบนโลกจนต้องอาศัยการตัดต่อพันธุกรรมให้มีภูมิคุ้มกันดีขึ้น การก่อการร้ายจึงแฝงมาในรูปแบบนี้ เพื่อใช้เป็นเครื่องมือแสวงหาผลกำไรให้กับองค์กรและนักการเมืองหน้าเลือด

เรื่องราวน่าเศร้านี้ถูกเล่าผ่านตัวละคร “Anderson Lake” ผู้จัดการโรงงาน AgriGen’s Calorie  ในประเทศไทย ผู้ค้นพบว่ามีใครบางคนกำลังกุมความลับของการตัดต่อพันธุกรรมและครอบครองเมล็ดพันธุ์หายากที่สูญหายไป เขาจึงออกตามล่าหาคลังสมบัตินั้นเพื่อหวังกอบโกยเม็ดเงินก้อนโต จนไปบังเอิญพบ “Emiko” มนุษย์สายพันธ์ุใหม่ (Windup) ชาวญี่ปุ่น ผู้ถูกตัดต่อพันธุกรรมให้เชื่อง มีสติปัญญาเฉลียวฉลาด เคลื่อนไหวได้รวดเร็วเหนือมนุษย์ธรรมดาและเป็นอมตะ

เธอเดินทางมายังประเทศไทยพร้อมนายจ้างในฐานะล่ามแปลภาษาและคู่นอน แต่เมื่อเสร็จงานกลับถูกทอดทิ้งให้เผชิญชะตากรรมอันโหดร้ายในฐานะทาสแทน เธอจึงต้องดิ้นรนหนีจากการถูกย่อยสลาย และเอาตัวรอดโดยการเป็นโสเภณีในซ่องย่านเพลินจิต ซึ่งเป็นใจกลางกรุงเทพในยุคนั้น

ด้วยความที่หนังสือเล่มนี้ยังไม่มีการแปลเป็นภาษาไทย หลายคนจึงอาจไม่เคยเห็นหรือได้ยินชื่อมาก่อน แต่เมื่อภาพผลงานของ Julien Gauthier ศิลปินผู้นำนวนิยายเรื่องนี้ไปสร้างโลกแห่งจินตนาการออกมาเป็นภาพวาดสวยๆ สุดอลังการ  ถูกแชร์ต่อๆ กันในโลกออนไลน์ หนังสือเล่มนี้ก็กลายเป็นที่รู้จักและพูดถึงในวงกว้างมากขึ้น ต้องรอลุ้นอีกทีว่าจะมีสำนักพิมพ์ไหนใจดีซื้อลิขสิทธิ์มาแปลรึเปล่า ไม่งั้นเราคงต้องฝึกทักษะด้านภาษาอ่านเวอร์ชั่น Eng. กันไปพลางๆ

อ้างอิง : Prasertchai Thokul | artstationbloggang | goodreads

 

Suthamat
The girl with flowers tattoo

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save