ดราม่าทรงผม Dreadlock ศักดิ์ศรีของคนผิวสีที่บางคนไม่เข้าใจ - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ดราม่าทรงผม Dreadlock ศักดิ์ศรีของคนผิวสีที่บางคนไม่เข้าใจ

สีผิว รูปร่าง รสนิยม ทัศนคติ อะไรก็สามารถเป็นประเด็นดราม่าได้หมดหากเกิดจากการกระทำแบบไม่รู้เบื้องลึกหนาบาง ไม่เว้นแม้แต่ทรงผม โดยเฉพาะ “ทรงผมเดรดร็อค (Dreadlocks)” เนื่องจากมันเป็นมากกว่าทรงผมธรรมดา แต่มันสัญลักษณ์อันโดดเด่นที่แฝงไปด้วยเรื่องราวละเอียดอ่อนมากมายทางเชื้อชาติและวัฒนธรรม

ล่าสุด Andrew Johnson นักกีฬามวยปล้ำผิวสีถูก Alan Malony กรรมการตัดสินใจสั่งให้ตัดผมเดรดร็อคออกในระหว่างการแข่งขันกีฬามวยปล้ำระดับมัธยมปลาย ที่รัฐนิวเจอร์ซี่ย์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ไม่ฉะนั้นจะถูกปรับให้แพ้ในการแข่งขัน

หลังจากมีภาพออกไปก็เกิดการถกเถียงกันในสื่อโซเชียลจำนวนมาก เป็นผลให้กรรมการต้องถูกพักงานจนกว่าจะสอบสวนเรื่องราวทั้งหมดเสร็จสิ้น คนกลุ่มหนึ่งออกมาแย้งว่า “กติกาห้ามให้ผมยาวพ้นออกมาจากหมวกกันน็อคของกีฬามวยปล้ำนั้นเป็นข้อปฏิบัติที่บังคับใช้กับผู้เข้าแข่งขันทุกคน”

 แต่นักกีฬาอาชีพหลายๆคนก็ออกมาโต้กลับว่า “เล่นมวยปล้ำมาจนได้แชมป์โลกยังไม่เคยเจอเรื่องแบบนี้มาก่อนเลย ถ้ากติกาเป็นแบบนี้แต่แรกทำไมไม่บอกให้เด็กเตรียมตัวมาก่อน มาตัดผมเขาในสนามได้ไง”

ประเด็นดราม่านี้หลายคนมองว่าไม่ใช่แค่เรื่องกติกาการแข่งขันเท่านั้นแต่มีเรื่องเยียดเชื้อชาติเข้ามาเกี่ยวข้องด้วยเพราะกรรมการคนนี้เคยมีประวัติใช้คำด่าเหยียดผิวเพื่อนร่วมงานมาก่อน อีกทั้งทรงผมเดรดร็อคของคนผิวสีนั้นไม่ใช่แค่การทำตามกระแสแฟชั่น แต่มันคือการแสดงอัตลักษณ์ทางชาติพันธ์ สีผิว ความเชื่อทางศาสนา และปรัญชาในการใช้ชีวิต การตัดผมจึงกลายเป็นประเด็นดราม่าอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

จริงๆ เรื่องดราม่าทรงผมของคนผิวสีนั้นมีการถกเถียงกันมาเรื่อยๆ ไม่เคยขาด ทั้งวงการแฟชั่นและวงการเพลง ในงานนิวยอร์กแฟชั่นวีคปี 2016 แฟชั่นโชว์ของแบรนด์ Marc Jacobs ถูกคนบางกลุ่มโจมตีอย่างหนักว่าเป็นการเหยียดเชื้อชาติเมื่อดีไซเนอร์ให้นางแบบผิวขาวทำผมทรงเดรดร็อคสีสันสดใส

ซึ่งดีไซน์เนอร์ก็ออกมาโต้กลับแบบฟิวส์ขาดผ่านอินสตราแกรมว่า “สำหรับพวกดราม่าเรื่องทรงผมและสีผม อยากรู้นักทำไมไม่ไปวิพากษ์วิจารณ์ผู้หญิงผิวสีที่ไปยืดผมให้ตรงบ้างล่ะ เสียใจจริงๆ ที่หลายคนเป็นพวกจิตใจคับแคบ แรงบันดาลใจที่ไม่ว่าจะได้มาจากที่ไหนมันเป็นสิ่งที่สวยงามทั้งนั้น” ประโยคนี้กลายเป็นโหมไฟให้ลุกไปกันใหญ่ จน Marc Jacobs ต้องออกมาขอโทษทีหลังถึงการพูดไม่คิด

ฝั่งวงการบันเทิงเกาหลีก็หนีไม่พ้นกระแสดราม่าเช่นกันเมื่อ Jackson วง GOT7 ทำผมทรงเดรดร็อคในโฆษณา Pepsi ของประเทศจีน และก็ถูกโจมตีว่าฉวยโอกาสใช้วัฒนธรรม ซึ่งเขาก็ออกมาโต้กลับว่า

“ไร้สาระ ผมไม่คิดว่าผมจะเป็นคนเดียวที่ทำแบบนี้ คนที่เกลียดยังไงก็เกลียดวันยังค่ำ ผมเคราพรักทุกชนชาติ แต่ถ้าคุณคิดว่านี่เป็นการไม่เคารพกันและดูถูกในเรื่องชนชาติล่ะก็ ผมก็ต้องขอโทษด้วยครับ ผมตัดสินใจทำเรื่องนี้เพราะผมรักวัฒนธรรมอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของเพลง ผู้คน ภูมิหลังหรืออะไรก็ตามแต่ ผมเคารพทุกอย่างด้วยใจของผมจริงๆครับ ทั้งหมดมันเป็นการเข้าใจผิดกันครับ”  

หลังจากนั้นไม่นานทรงผมเดรดร็อคลุคใหม่ของหนุ่ม Kai วง Exo ในมิวสิควีดีโอ Ko Ko Bop ก็โดนประเด็นดราม่าแบบเดียวกันกับแจ็คสันเปี๊ยบ แต่เขาก็ไม่ได้ออกมาพูดอะไรเกี่ยวกับเรื่องนี้ มีเพียงแฟนๆ ที่ออกมาโต้แย้งแทน

ทรงผมเดรดร็อคนั้นเป็นเรื่องละเอียดอ่อนมากๆ หากบอกว่าการเมืองและศาสนาเป็นเรื่องไม่ควรพูดคุยกัน เดรดร็อคก็เปรียบเหมือนกับรวมสองสิ่งนี้เอาไว้ เพราะรากเหง้าของมันถูกเชื่อมโยงด้วยวัฒนธรรมหลากหลายวัฒนธรรม บางตำราก็บอกว่ามีต้นกำเนิดมาจากศาสนาฮินดูในประเทศอินเดีย สังเกตได้จากภาพพระอิศวรและสาวกทำผมทรงดังกล่าว บางตำราก็ว่ามาจากเหล่านักบวชที่อาศัยอยู่ทางทิศตะวันออกของอินเดีย บางตำราก็ว่ามาจากชนเผ่าแอฟริกา

แต่หลักฐานการค้นพบทางโบราณคดีครั้งแรกกลับอยู่ในประเทศอียิปต์ และบันทึกในสมัยโรมันก็ระบุถึงการทำทรงผมที่คล้ายกับงูของชนเผ่าดั้งเดิมและชาวไวกิ้งด้วยเช่นกัน  จุดกำเนิดที่แท้จริงของผมทรงนี้จึงยังไม่มีข้อสรุปแน่ชัดตายตัวว่ามาจากไหน แต่รากเหง้าที่ทุกคนคุ้นหูกันเป็นพิเศษนั้นมาจากลัทธิรัสตาฟารี (Rastafari) หรือรัสตา (Rasta)ในประเทศจาไมก้า ซึ่งเป็นลัทธิที่ Bob Marley ราชาเพลงเร็กเก้นับถือและนำแนวคิดมาใช้ในการต่อสู้เพื่อเรียกร้องสันติภาพให้แก่ชาวผิวสีผ่านบทเพลงเร้กเก้อันไพเราะ

ชาวรัสตามีความเชื่อว่าอดีตจักรพรรดิ์ไฮลี เซลาซซี (Haile Selassie) แห่งเอธิโอเปียคือพระเจ้าที่จุติมาเกิดเป็นมนุษย์เพื่อปลดปล่อยคนแอฟริกันให้พ้นจากความเป็นทาสและนำพวกเขาไปสู่ความยุติธรรมในสังคม และมีความเชื่อว่าเส้นผมเป็นจุดศูนย์รวมแห่งพลังความแข็งแกร่ง ซึ่งได้รับอิทธิพลมาจากสิงโต การทำผมทรงเดรดร็อคจึงเปรียบได้กลับการรักษาความแข็งแกร่งนั้นไว้ นอกจากนั้นขนาดและความยาวของผมเดรดร็อคยังสามารถเป็นสิ่งชี้วัดถึงความเจนจัด ปราดเปรื่อง ทั้งยังบอกถึงความยาวนานที่คนๆนั้นได้หันมานับถือลัทธิรัสตาได้ด้วย

ทรงผมเดรดร็อคจึงเปรียบดั่งสัญลักษณ์หนึ่งอันผูกกับศักดิ์ศรีของคนผิวสีไว้  ดังนั้นเมื่อคนขาวทำทรงผมที่เกิดจากวัฒนธรรมของคนผิวสี จึงเกิดความขัดแย้งทางความคิดอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เพราะคนผิวสีล้วนถูกตั้งแง่ด้วยทัศนคติเหยียดหยามจากตราประทับที่สังคมยัดเยียดให้ ไม่ว่าจะสีผิวหรือทรงผมอันมาจากวัฒนธรรมของพวกเขานั้นต่างก็เคยถูกแสดงท่าทีต่อต้าน รวมถึงสร้างกฎระเบียบห้ามในสิ่งเหล่านั้นมาก่อน

แต่พอคนผิวขาวหยิบจับสิ่งนั้นมาแสดงออกทางแฟชั่นกลับได้รับเสียงยกย่องชื่นชมว่าเป็นผู้นำเทรนด์ มันจึงเหมือนการฉวยเอาวัฒนธรรมดีๆที่เขาภูมิใจมาใช้แต่กลับไม่เคยเป็นปากเป็นเสียงให้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคมที่เขาเผชิญเลย

Source & Picture : 1|2|3|4|5|7|8|9

Suthamat
The girl with flowers tattoo

บทความที่เกี่ยวข้อง

4 Comments

  1. 21/07/2022 at 15:31

    […] อ้างจากแหล่งที่มา: … […]

  2. 22/07/2022 at 12:31

    […] อ้างจากแหล่งที่มา: … […]

  3. 25/07/2022 at 19:01

    […] อ้างจากแหล่งที่มา: … […]

Comments are closed.

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save