มาแล้ว “เน็ตอวกาศ” จากโครงการ Starlink ของอิลอน มัสค์ เปิดให้ทดลองใช้งานแล้ววันนี้ ! - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
มาแล้ว “เน็ตอวกาศ” จากโครงการ Starlink ของอิลอน มัสค์ เปิดให้ทดลองใช้งานแล้ววันนี้ !

คงปฏิเสธไม่ได้ว่าโลกของเราในยุคปัจจุบันติดต่อสื่อสารกันผ่านโครงข่ายอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก ด้วยการพัฒนาก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้งของโครงข่ายอินเตอร์เน็ตทำให้โลกทั้งใบหลอมรวมเป็นหนึ่งเดียว

สิ่งที่เกิดขึ้นอีกซีกโลกหนึ่งสามารถรับรู้ได้ในอีกซีกโลกหนึ่งในชั่วพริบตา ก่อให้เกิดการส่งต่อข้อมูล ความรู้ และข่าวสารปริมาณมากมายมหาศาลในแต่ละวันเคลื่อนผ่านไปตามส่วนต่างๆ ของโลกได้อย่างรวดเร็วอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนในหลายสิบ หรือหลายร้อยปีก่อนหน้านี้

อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ทุกคนบนโลกที่จะมีโอกาสมีโอกาสได้เข้าถึงการใช้งานอินเตอร์เน็ต เพราะในปัจจุบันการส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตนั้นทำผ่าน “ใยแก้วนำแสง” โยงใยกันเป็นโครงข่ายรอบโลก และโครงข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นส่วนใหญ่ก็จะมีให้บริการเฉพาะในโซนชุมชนเมือง ซึ่งทำให้ชุมชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ เช่นตามป่าเขาลำเนาไพรไม่มีโอกาสได้ใช้

เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหานี้ อิลอน มัสค์ แห่ง SpaceX จึงได้ก่อตั้งโครงการ “Starlink” จุดประสงค์ก็เพื่อสร้างโครงข่ายดาวเทียมกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตในวงโคจรต่ำ เมื่อโครงการนี้สำเร็จลุล่วง ก็จะทำให้ทุกคนบนโลกที่แม้ว่าจะอยู่ห่างไกลความเจริญเพียงใดก็สามารถเข้าใช้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงผ่านดาวเทียมในห้วงอวกาศได้ และตอนนี้โครงการนี้ก็กำลังอยู่ในช่วงเร่งรีบดำเนินการ จนทำให้สถานะโครงการในตอนนี้ประสบความสำเร็จในเบื้องต้นแล้ว เราจึงอยากพาเพื่อนๆ ชาว The Macho มาทำความรู้จักโครงการ Starlink กันให้มากขึ้น ใครสนใจก็ตามมาดูกันเลย

โครงการ Starlink คืออะไร?

โครงการ Starlink คืออะไร ทำไมถึงกำลังเป็นกระแสในโลกโซเชียลในตอนนี้? เรามีคำตอบ

โครงการ Starlink เป็นโครงการที่ริเริ่มโดยชายที่เกิดมาเพื่อเปลี่ยนโลกอย่างแท้จริงที่ไม่มีใครไม่รู้จักในยุคนี้อย่าง อิลอน มัสค์ ที่เขาได้เห็นว่าปัจจุบันอินเตอร์เน็ตควรจะเป็นปัจจัยพื้นฐานในการใช้ชีวิตของทุกคนบนโลกไม่ต่างจากน้ำ และไฟฟ้า แต่โครงข่ายอินเตอร์เน็ตไม่สามารถแผ่ขยายเข้าไปได้ในทุกพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณที่เป็นป่าเขาห่างไกลความเจริญ ทำให้ชุมชนที่อยู่ในบริเวณนั้นไม่มีโอกาสได้เข้าถึงแหล่งข้อมูลข่าวสารสำคัญในโลกอินเตอร์เน็ต

ด้วยเหตุนี้โครงการ Starlink จึงได้ถูกก่อตั้งขึ้น เพื่อแก้ไขปัญหาในเรื่องนี้โดยตรง การกระจายสัญญาณอินเตอร์ของโครงการ Starlink จะเป็นไปในรูปแบบใหม่ที่ไม่เคยมีผู้ให้บริการเจ้าไหนทำมาก่อน ซึ่งก็คือการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากห้วงอวกาศ หรือเรียกสั้นๆ ว่า “เน็ตอวกาศ” โดยใช้โครงข่ายดาวเทียมในวงโคจรต่ำทำงานร่วมกันกว่าหลายหมื่นดวง ซึ่งเมื่อโครงการนี้สำเร็จก็จะทำให้ทุกคนบนโลกไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลความเจริญแค่ไหนก็มีโอกาสได้ใช้งานอินเตอร์เน็ตผ่านอุปกรณ์รับสัญญาณที่จำเป็นต้องติดตั้ง

สถานะของโครงการ Starlink ในตอนนี้คืออยู่ในช่วงเร่งงานเต็มที่ตามสไตล์ของ อิลอน มัสค์ ที่เขามักบอกเสมอว่า “อะไรที่คนทั่วไปใช้เวลาทำ 10 ปี เขาจะทำให้สำเร็จใน 6 สัปดาห์” ซึ่งผลก็คือโครงการ Starlink จะเปิดให้บริการระยะแรกในพื้นที่ประเทศสหรัฐอเมริกาและบางส่วนของประเทศแคนาดา ก่อนจะขยายพื้นที่ให้บริการครอบคลุมทั่วโลกภายในช่วงปี พ.ศ. 2564

การทำงานของดาวเทียมในโครงการ Starlink เป็นอย่างไร?

หลักการทำงานของโครงการ Starlink ไม่ได้มีอะไรซับซ้อน และไม่ได้มีอะไรใหม่ในเชิงเทคนิค เพราะเทคโนโลยีมีพร้อมอยู่แล้ว รอเพียงแค่ทำให้มันเกิดขึ้นจริง ซึ่งนั่นก็คือการสร้างโครงข่ายดาวเทียมในวงโคจรต่ำ ด้วยดาวเทียมจำนวนมากครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วโลกเพื่อกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตอย่างทั่วถึงให้ทุกคนบนโลกได้ใช้งานกัน

ซึ่งนั่นทำให้โครงการ Starlink กลายเป็นโครงการที่มีการขออนุมัติใช้ดาวเทียมมากที่สุดในโลก เดิมทีโครงการนี้ขออนุญาตใช้ดาวเทียมไปมากกว่า 30,000 ดวง แต่ผ่านการอนุมัติเพียงแค่ 12,000 ดวงเท่านั้น แต่เรื่องนี้ยังไม่จบ เพราะยังคงต้องมีการปรึกษาหารือกันต่อไปเพื่อให้ได้จำนวนดาวเทียมตามที่ต้องการ

สถานะของโครงการ Starlink ตอนนี้คือได้มีการปล่อยดาวเทียมกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตขึ้นไปในวงโคจรแล้วกว่า 865 ดวง ซึ่งดาวเทียมแต่ละดวงได้รับการออกแบบให้มีลักษณะคล้ายแผ่นกระดานเรือใบแบนราบเพื่อประหยัดพื้นที่ในการขนส่งขึ้นสู่อวกาศ ดาวเทียมแต่ละดวงติดตั้งแผงโซล่าเซลล์เพื่อผลิตพลังงานไฟฟ้าหล่อเลี้ยงตัวเอง ส่วนระบบขับดันจะเป็นเครื่องยนต์จรวดไอออน (Ion Engine) ที่ NASA ออกแบบและพัฒนาให้โดยใช้หลักการนำอิเล็กตรอนความเร็วสูงวิ่งเข้าชนแก๊สจนอะตอมของแก๊สแตกตัวเป็นไอออนซึ่งมีประจุ จากนั้นก็เร่งประจุด้วยสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อขับดันออกมาเป็นแรงขับให้ดาวเทียมเคลื่อนที่ไปยังตำแหน่งที่ต้องการในการรักษาระยะห่างให้พอดีกับดาวเทียมดวงอื่นๆ

ข้อได้เปรียบอย่างมากของ อิลอน มัสค์ ที่ทำให้เขาสามารถดำเนินโครงการนี้ได้สำเร็จอย่างที่ไม่เคยมีใครทำได้มาก่อนก็คือ  จรวด Falcon 9 ซึ่งเป็นจรวดขนส่งของบริษัท SpaceX ที่เขาเป็นเจ้าของ โดยจรวด Falcon 9 มีข้อได้เปรียบเหนือจรวดอื่นๆ คือมันสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า ทำให้สามารถประหยัดค่าดำเนินการขนส่งดาวเทียมขึ้นสู่อวกาศได้มาก แถมการส่งดาวเทียม Starlink ในแต่ละครั้ง Falcon 9 สามารถหอบดาวเทียมขึ้นไปปล่อยในวงโคจรได้มากถึง 60 ดวง

ปริมาณดาวเทียมที่มากมายมหาศาลของโครงการ Starlink กับข้อกังวลเรื่องขยะอวกาศจากดาวเทียมที่หมดอายุ

ในอดีตที่ผ่านมาดาวเทียมที่ได้ถูกส่งขึ้นไปในวงโคจรแทบจะไม่มีการวางแผนการบริหารจัดการเมื่อมันหมดอายุการใช้งาน ส่วนมากก็จะปล่อยให้มันกลายเป็นขยะอวกาศลอยเคว้งคว้าง รอวันที่มันจะแรงโน้มถ่วงโลกดูดกลับลงมาทำลายตัวเองในชั้นบรรยากาศ ซึ่งก็ต้องใช้เวลาหลายร้อยหลายพันปี

แต่มันไม่ใช่สำหรับดาวเทียมทุกดวงในโครงการ Starlink ด้วยสำนึกในความรับผิดชอบต่อวงโคจร ดาวเทียมทุกดวงจึงได้ถูกออกแบบให้ทำลายตัวเองในชั้นบรรยากาศเมื่อหมดอายุการใช้งาน โดยมันจะทำลายตัวเองภายในระยะเวลาไม่เกิน 5 ปีเท่านั้น เทียมที่หมดสภาพจะเสียดสีจนมอดไหม้ในชั้นบรรยากาศอย่างสมบูรณ์  และที่สำคัญก็คือดาวเทียมทุกดวงของโครงการStarlink ยังอยู่ในวงโคจรที่ต่ำมาก จึงไม่เป็นอันตรายต่อดาวเทียมดวงอื่นๆ และไม่เป็นอันตรายต่อเส้นทางการสัญจรทางอวกาศที่จะเกิดขึ้นในอนาคต 

ตอนนี้โครงการ Starlink เปิดได้เปิดให้ทดลองใช้แบบ Beta กันแล้ว

รูปภาพ หน้าตาของคนได้จานรับสัญญาณ Internet จาก Starlink

ที่โครงการเน็ตอวกาศ “Starlink” กำลังโด่งดังเป็นกระแสในเวลานี้ เพราะปัจจุบันได้เปิดสถานการณ์ให้บริการแบบ Beta เพื่อให้ผู้ใช้งานบางส่วนในทดลองใช้กันแล้ว โดยได้รับการรีวิวว่า “มันแรงเวอร์มาก” วิธีการใช้งานก็ไม่ได้ซับซ้อนอะไร เพียงแค่ผู้ใช้งานติดตั้งจานดาวเทียมขนาดเล็ก (User Terminal) เพื่อใช้งานอินเทอร์เน็ตความเร็วสูงโดยไม่จำเป็นต้องเดินสายนำสัญญาณ (Fiber Optic) จากเครือข่ายอื่น

และนี่ก็ทั้งหมดเกี่ยวกับโครงการ Starlink ที่เราอยากสรุปให้เพื่อนๆ ชาว The Macho ได้ทราบกันในครั้งนี้ เพราะมันคืออนาคตที่กำลังจะมาถึงในปีหน้านี้ และอีกไม่นานคนไทยก็คงจะได้ใช้งานกัน ก็หวังว่าความก้าวหน้าโครงการนี้จะสร้างความตื่นเต้นให้กับคอเทคโนโลยีกันทุกคน และหากมีประเด็นที่น่าสนใจเกี่ยวกับโครงการ Starlink อีก เราจะมานำเสนอกันอีกครั้ง 

Sujate Wanchat

What one man calls God, another calls the laws of physics.

วิศวกร นักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ นักเขียนบทความ ชอบติดตามโลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย เรื่องราวการท่องเที่ยวผจญภัย มนุษย์ต่างดาว และสาวๆ เซ็กซี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save