Behind the scenes เบื้องหลัง และแนวโน้มของ "VRAV" - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
Behind the scenes เบื้องหลัง และแนวโน้มของ “VRAV”

แม้ปีที่ผ่านมาบริษัทเทคโนโลยีใหญ่ๆ จะทุ่มเทขุมกำลังไปกับเทคโนโลยี VR และ AR แต่ก็ยังไม่มีใครที่สร้างพลังรุนแรงได้เท่ากับเกม Pokemon GO ที่สร้างเทรนด์ใหม่ในการเล่นเกมอย่างมากมายให้ชาวโลก

และอีกสิ่งที่อุตสาหกรรมบันเทิงอย่างภาพยนตร์สำหรับผู้ใหญ่มองเห็นว่า VR นั้นคือโอกาสในการสร้างประสบการณ์ความบันเทิงใหม่ๆ ให้กับฐานลูกค้าเดิมๆ (แต่จำนวนมหาศาล) ที่จะทำให้เหมือนผู้ชมเข้าไปสวมบทบาทพระเอกอยู่ในหนังแทนการนั่งเป็นผู้สังเกตุการณ์อยู่หน้าจอ

ในช่วง 2-3 ปีมานี้จึงทำให้อุตสาหกรรมนี้มีสินค้าใหม่ๆ ออกมาสร้างสีสันเพิ่มเติมหลังจากที่เคยหยุดนิ่งอยู่กับที่มาเกือบทศวรรษ

หนัง VRAV พล็อตจำลองสถานการณ์บนรถเมล์ ที่จะสร้างความสมจริงให้ผู้ชมได้มากกว่าการนั่งมองจอปกติ

โดยข้อมูลและตัวเลขเหล่านี้น่าจะบอกแนวโน้มการเติมโตของ “VRAV” ได้เป็นอย่างดี

ปัจจุบัน​ในแต่ละปีจะมี​ VRAV ออกมาประมาณ​ 7,000 เรื่อง​ เฉพาะในประเทศญี่ปุ่นเท่านั้นยังไม่รวมฝั่งตะวันตก ที่ปัจจุบันต้องแบ่งหมวดหมู่เพิ่มออกมาว่าเป็น VR หรือ POV

DMM เว็บไซต์เช่าภาพยนตร์ดูแบบสตรีมมิ่งที่ใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่นมีหนังในหมวด VR กว่าสามหมื่นเรื่อง

ช่วงแรกๆ​ ของ​ VRAV​ เริ่มที่ปี​ 2006 โดยวิธีการถ่ายทำใช้กล้อง​ GoPro 2​ ตัวถ่ายพร้อมกันแทนสายตา​ ซ้ายขวาก่อนจะนำมารวมภาพด้วยเทคนิคที่ทำให้เป็น​ 3มิติ

หนัง​ AV​ แบบ​ VR​ ในช่วงแรกๆ​ จึงมักมาในลักษณะคลิปสั้นๆ​ เนื่องจากติดข้อจำกัดในการถ่ายทำด้วย​ GoPro​ ที่ไม่สามารถถ่ายเกิน​ 15​ นาทีได้​ เพราะ​กล้องจะร้อนมากและหยุดทำงานเอง

ปัจจุบัน​กล้อง​ DSLR ถูกนำมาแทนที่การถ่ายด้วยกล้อง​ GoPro​ คุณภาพของภาพจึงสูงขึ้น​ และทำลายข้อจำกัด​ 15​ นาทีของกล้อง​ GoPro ออกไป

จอมอนิเตอร์ที่จะทำให้ผู้กำกับสามารถเช็คงานในขณะถ่ายทำได้

ความคมชัดปัจจุบัน​สูงถึง​ 8K เรียกว่าความสมจริงระดับเผลอเอื้อมมือไปจับนักแสดงตอนดูได้เลย

เมื่อดูหนัง VR ผ่านจอทีวีปกติจะเห็นแยกเป็นสองจอเหมือนตาสองข้างเราแยกกันมอง

การบันทึกเสียงก็ใช้ไมค์แบบ​ ASMR​ ที่ได้คุณภาพ​เสียงเหมือนดาราหญิงมากระซิบข้างหูเลยทีเดียว

เวลาถ่ายทำด้วยที่ต้องเป็นมุมมองแบบ​ POV ทำให้นักแสดงชายจะไม่สามารถขยับตัวได้​ หรือแม้แต่หายใจก็ต้องหายใจทางปาก​ เพื่อป้องกันเสียงหายใจเข้ามาในกล้อง

การใช้เครนช่วยทำให้การถ่ายทำง่ายขึ้น เพราะนักแสดงชายไม่จำเป็นต้องเงยหน้ามากเกินไป

ค่าตัวของนักแสดงหญิงระดับท๊อปอยู่ที่​ 3 แสน-1ล้านเยนต่อคิว​ 1​ วัน​ (64,000-320,000)​ ส่วนนักแสดงชายก็ประมาณ​ 30,000​ เยน (9600บาท) ซึ่งเท่ากับการถ่ายทำ​ AV​ ปกตินั่นเอง

ปัจจุบัน​มีผลสำรวจว่าความนิยมอยู่ในระดับที่พอใช้ได้​ และค่อยๆ​ สูงขึ้น​ โดยเฉลี่ย​ ในทุก​ 60​ คนจะมีแว่น​ VR​ 1​ คน

แนวโน้มในอนาคตข้างหน้าแว่น​ VR​ จะต้องมีขนาดเล็กลงขนาดที่ใส่เป็นคอนแทคเลนส์​ได้เลย​ ซึ่งเป็นการแก้ปัญหาเรื่องที่แว่น VR นั้นยังดูเทอะทะไม่เหมาะที่จะใส่ในชีวิตประจำวันได้ โดยนวัตกรรม​นี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา​

โปรเจคต้นแบบคอนแทคเลนส์ VR

ก็คิดดูในอนาคตข้างหน้าเราจะเหมือนมีจอภาพอยู่ติดกับตาเราเลย แล้วสั่งงานผ่านไมค์ชีวิตจะสะดวกสบายขึ้นอีกขนาดไหน

Picture : Knight Visual, Badoink, S1, SOD

ไปนั่งกินเบียร์กับสาวเอวีในรูปแบบ VR กัน

W. Charoenchit

Online Marketing | BD @ ThisIsGame Thailand | Admin AV idol Fanpage | Admin รวมดาวสาว Office | Gamer l Toy collector | Food Hunter

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save