ชมรถแข่งสร้างโดยนิสิตแชมเปี้ยนสี่สมัยของวงการ Formula Student ในงานมอเตอร์โชว์2024 - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ชมรถแข่งสร้างโดยนิสิตแชมเปี้ยนสี่สมัยของวงการ Formula Student ในงานมอเตอร์โชว์2024

ดงตาลเรชชิ่งจึงเป็นตัวแทนร่วมกับ TSAE สมาคมวิศวกรรมยานยนต์ไทย นำทีมรถแข่งที่รังสรรค์สร้างโดยนิสิตจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ที่เข้าร่วมการแข่งขันและรับรางวัลรองชนะเลิศอีกสองทีม ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และมหาวิทยาลัยสยาม มาแสดงผลงานแห่งความภาคภูมิใจในงาน The 45th Bangkok International Motor Show ซึ่งจะจัดขึ้นในระหว่างวันที่ 27 มีนาคม – 7 เมษายน 2567 ณ แกรนด์ ไดมอนด์ บอลรูม (Hall 4) อาคาร อิมแพค ฟอรั่ม เมืองทองธานี

โดยรถที่นำมาโชว์ คือ รถ Model 12 คันปัจจุบัน ของดงตาล เป็นรถแข่งล้อเปิดแบบหนึ่งที่นั่ง รถสันดาป ใช้เครื่องยนต์เบนซิน 4 จังหวะ Kawasaki ZX636 636 cc. และได้มีการโมดิฟายเครื่องยนต์เพิ่มเติมเพื่อรีดสมรรถนะทั้ง การเปลี่ยนคอไอดีเป็นคอไอดีแบบที่ทำมาจาก Carbon Fiber ใช้ ETC หรือลิ้นปีกผีเสื้อไฟฟ้า และจูนอัพองค์ประกอบด้วยกล่อง ECU มีการประยุกต์ใช้โช้คอัพสามต้นในการควบคุมคาแรคเตอร์การขับขี่ทั้งหน้าและหลัง รวมทั้งมี aero package ส่งเสริมในการเข้าโค้งและออกตัวด้วยระบบ DRS “Drag Reduction System” สามารถมารับชมผลงานของนิสิตได้ที่งานมอเตอร์โชว์ครั้งที่ 45 นี้ ทางทีมพร้อมต้อนรับและเป็นแหล่งแลกเปลี่ยนความรู้ให้กับผู้ที่ความสนใจมาเยี่ยมชมทุกท่าน

ทั้งนี้ความใฝ่ฝันของดงตาลไม่หยุดอยู่แค่ในประเทศเท่านั้น รถ model 12 นี้จะเป็นสารตั้งต้นในการสร้าง model ใหม่เพื่อเป็นตัวแทนประเทศในเวทีเอเชีย คือการเข้าร่วม Formula SAE Japan 2024 ณ ประเทศญี่ปุ่นในเดือน กันยายน 2567 นี้ ขอร่วมเป็นกำลังใจให้นิสิตไทยได้สร้างผลงานและความภาคภูมิใจของบุคคลกรไทยไว้ในเวทีโลก

สุดท้ายนี้จึงขอเชิญชวนทุกท่านมาชมผลงานของนิสิตมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีมดงตาลเรซซิ่ง อนาคตวิศวกร และ นักการพัฒนาธุรกิจ ที่จะมาเป็นกำลังสำคัญให้กับภาคอุตสาหกรรม เทคโนโลยี และความยังยืนของประเทศไทย

ส่วนของการแข่งขัน วัตถุประสงค์คือสร้างเวทีที่เป็นการผลักดันให้นิสิตได้พัฒนาตน นำองค์ความรู้จากการเรียนในห้อง มาสร้างสรรค์เป็นประสบการณ์นอกห้อง เป็นการผลิตวิศวกรและบุคคลากรที่มีประสบการณ์สู่ตลาดแรงงาน

การแข่งขันครั้งนี้มีทีมที่ เข้าร่วมแข่งขันทั้งหมด 31 ทีม โดยแบ่งเป็น กลุ่มของยานยนต์ สันดาปภายใน (formula ICV) 20 ทีม และ ในกลุ่มของยานยนต์ ไฟฟ้ า (Formula EV) 11 ทีม

รอบประเภทการแข่งขันต่าง ๆ

1. การแข่งขันประเภท Static event
2. การแข่งขันประเภท Dynamic event

ส่วนแรกการแข่งขันประเภท Static event ประกอบไปด้วย
– Business Presentation 75 คะแนน
– Engineering Design 150 คะแนน
– Cost and manufacturing event 100 คะแนน

ส่วนที่สองคือการแข่งขันประเภท Dynamic event ประกอบไปด้วย
– Acceleration 100 คะแนน
– Skid-Pad 75 คะแนน
– Autocross 125 คะแนน
– Efficiency 100 คะแนน
– Endurance 275 คะแนน

รวมทั้งสิ้น 1000 คะแนน

จะเห็นได้ว่า ไม่เพียงแต่การแข่งขันสมรรถนะของรถเท่านั้น แต่มีการแข่งในเรื่องของการคำนวณการขึ้นชิ้นงาน ราคาของรถ การพรีเซนท์แนวคิดการดีไซน์ และแข่งการวางแผนธุรกิจ การตลาดร่วมด้วย

ก่อนการแข่งมีการinspection ความพร้อม/ปลอดภัยของรถต่อคนขับ ในการวิ่งของรถนั้น แข่งนอกจากความเร็ว คือสมรรถนะการขับขี่ของรถ มีสนาม 4 แบบ วิ่งวัดอัตราเร่ง วัดการตอบสนอง ความคล่องตัวในสนามที่มีโค้งเยอะ วัดความทนทาน

กติกาในเรื่องของสเปครถฝั่งของเครื่องยนตร์สันดาปนั้น เครื่องยนตร์ขนาดไม่เกิน 710 cc กำหนดให้ใช้ E10 (Gasohol 95) เป็นเชื้อเพลิง นอกจากนี้ตามกติกาแล้วภายในห้องโดยสารจะต้องมี Roll Hoop เพื่อป้องกันอันตรายของคนขับในยามที่รถแข่งพลิกคว่ำ

ทางดงตาลมีการพัฒนาและสั่งสมความรู้จากรุ่นสู่รุ่น พี่ๆบัณฑิตที่จบการศึกษาไปก็ได้กลายเป็นบุคคลากรที่มีประสบการณ์ในวงการยานยนต์ทั้งไทยและต่างประเทศ พี่ๆนำองค์ความรู้มาถ่ายทอดต่อสู่น้องๆ จึงกลายเป็นอีกจุดแข็งของดงตาล

Sharry

Writer, Project Editor, Photographer

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save