รวมคำศัพท์สำหรับผู้เริ่มศึกษาคริปโต และการลงทุนทรัพย์สินดิจิตอล - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
รวมคำศัพท์สำหรับผู้เริ่มศึกษาคริปโต และการลงทุนทรัพย์สินดิจิตอล

ช่วง 2 ปีให้หลังนี้การลงทุนประเทศทรัพย์สินดิจิติล หรือพวก Crypto currency นั้นมาแรงจนหลายคนเริ่มสนใจอยากเข้าไปศึกษา แต่เข้าไปตอนแรกออกจะมึนงงไม่ใช่แค่วิธีการทำงานของมัน แต่ยังไปถึงคำศัพท์แปลกๆ มากมาย

วันนี้ The Macho จึงขอรวบรวมคำศัพท์เบื้องต้นเพื่อไปต่อสำหรับใครที่อยากเข้าไปทดลองลงทุน หรือศึกษาหาความรู้ในตลาด Crypto currency กัน

DeFi – เป็นคำย่อมาจากคำว่า Decentralized Finance คือ ระบบการเงินที่ไร้ตัวกลาง ซึ่งเดิมทีเดียวการที่เราจะทำธุรกรรมการเงินใดๆ จะมีธนาคารเป็นตัวกลาง ไม่ว่าจะเป็นการสร้างสินทรัพย์ กู้ยืม ค้ำประกัน โอนสินทรัพย์ ทำให้ธนาคารหรือรัฐสามารถเข้ามามีอำนาจในการหยุดหรือห้ามธุรกรรมการเงินบางอย่างของบัญชีเราที่ทำกับธนาคารได้ DeFi จึงเกิดมาเพื่อแก้ไขปัญหาเหล่านี้

Fiat Money – เงินที่ออกให้โดยรัฐบาลแต่ละประเทศ

Altcoin (Alternate Coin) – แปลตรงตัวว่า “เหรียญทางเลือก” ไว้เรียกเหรียญอื่นๆ ที่ไม่ใช่ Bitcoin เพราะในกลุ่มของคนที่ใช้ Crypto currency จะมองว่า Bitcoin คือเหรียญแรกที่ปลอดภัยที่สุดแล้วในการเก็บหรือลงทุน

Mining – แปลตรงตัวว่า “การขุด” คือในอดีตทรัพย์สินที่มีค่าคือทอง การจะได้มาก็มาจากการทำเหมืองแล้วขุดทองขึ้นมา คำนี้จึงเป็นคำที่ล้อมาจากคำว่า “ขุดทอง” ในอดีตนั่นเอง แต่รูปแบบเทคโนโลยีเบื้องหลังของ Crypto currency นั่นคือ Blockchain ที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์คำนวนสมการทางคณิตศาสตร์มากมายเพื่อให้เครือข่ายนั้นปลอดภัย โดยคนที่ทำเรียกว่า “Miner” หรือเราเรียกกันเล่นๆ ว่า “นักขุดบิทคอยล์” หรือ “เจ้าของเหมืองบิทคอยล์” โดยคนที่ขุดก็จะได้รางวัลเป็นเหรียญที่ขุดนั่นเอง

(Source – Kaosodnews)

Whale – นักลงทุนรายใหญ่ที่ถือเหรียญนั้นๆ จำนวนมาก ถูกเปรียบเทียบเหมือนกับวาฬในมหาสมุทรนั่นเอง คือทุกการขยับตัวก็จะมีแรงกระเพื่อมกับราคาเหรียญไปด้วย ยกตัวอย่างของบิทคอยล์ถ้าผู้ที่ถือเหรียญเกิน 1000 เหรียญก็จะถูกเรียกว่าวาฬละ ถ้ามีน้อยกว่านี้ก็จะถูกระดับให้เป็น ฉลาม(500-1000BTC), โลมา(100-500BTC), ปลา(50-100BTC), ปลาหมึก(10-50BTC), ปู(1-10BTC) และกุ้ง (<1BTC)ตามลำดับ

Exchange – กระดานเทรด สำหรับซื้อขายแลกเปลี่ยน มีทั้งรูปแบบเว็บไซต์ และแอพลิเคชั่น ซึ่งการแลกเปลี่ยนบนโลก DeFi

Centralized Exchange – การแลกเปลี่ยนผ่านกระดานเทรดแบบมีตัวกลางหรือผู้ให้บริการในการแลกเปลี่ยน ที่เราคุ้นเคยกันดีก็จะมี bitkub, Satang Pro, bitazza, Zipmax, Binance, FTX, Coinbase เป็นต้น
Decentralized Exchange(DEX) – การแลกเปลี่ยนกันแบบไม่ใช้ตัวกลางคือผู้ถือบัญชีสามารถไปแลกเปลี่ยนได้เองเลย เช่น Uniswap, Pancakeswap

(source – infoquest)

Gas – ค่าธรรมเนียมในการทำธุรกรรมบน Blockchain ซึ่งจะถูกจ่ายด้วย Crypto currency ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็จะราคาแตกต่างกัน

KYC(Know Your Customer) – ไม่แต่ธนาคารเท่านั้น กระดานเทรดต่างๆ ก็ต้องมีการทำ KYC เพื่อให้รู้ว่าคุณเป็นใคร จะเข้ามาฟอกเงินหรือทำผิดหรือเปล่า การทำ KYC ก็จะมีตั้งแต่การส่งเอกสารทางราชการ บัตรประชาชน และถ่ายรูปตัวคุณเองว่าเป็นคนเดียวกันกับในบัตรประชาชนหรือไม่ด้วย

All in – เป็นคำที่ใช้ในกลุ่มนักลงทุน Crypto currency เวลาจะซื้อหรือเก็งกำไรในเหรียญไหน คล้ายคำว่าทุ่มหมดตัวในเหรียญนี้

All time high (ATH) – ราคาเหรียญใดเหรียญหนึ่งที่ขึ้นไปสูงสุดเท่าที่เหรียญนั้นเคยมีมา ในปี 2020-2021 เราจะค่อนข้างได้ยินคำนี้บ่อยเพราะเป็นช่วงที่ตลาด crypto ขึ้นค่อนข้างสูง แล้วเนื่องจากในปีหนึ่งๆ จะมีการสร้างสถิตินี้บ่อยเราจะได้ยินค่าว่า New all time high ไปบ่อยควบคู่กันอีกด้วย

Hodl – ออกเสียงว่า “ฮอดล์” คือการถือเหรียญใดเหรียญหนึ่งไว้ยาวๆ ซึ่งที่มาของคำนี้เกิดจากคำว่า “Hold” การพูดคุยกันในกระดานสนทนาของผู้ลงทุนใน Crypto currency แล้วมีคนหนึ่งพิมพ์ผิดเป็น “Hodl” จึงกลายมาเป็นศัพท์แสลงของกลุ่มมาตลอด ซึ่งต่อมาคนที่ถือเหรียญใดเหรียญหนึ่งยาวๆ ก็ถูกเรียกว่า Hodler ด้วยเช่นกัน

Diamond hand – มีความหมายเดียวกับ “Hodler” นั่นเอง เป็นการเปรียบเทียบคล้ายการถือแบบยาวนานจนมือแข็งแกร่งจนกลายเป็นเพชรเลย

ICO (Initial Coin Offering) – การระดมทุนแบบดิจิตอลในรูปแบบการเสนอขายก่อนที่เหรียญจะเข้าสู่ตลาด ถ้าในนักลงทุนหุ้นจะคุ้นเคยคำว่า IPO คือหุ้นที่กำลังจะเข้าสู่ตลาดหลักทรัพย์ เหรียญคริปโตก็มีช่วงแบบเดียวกับหุ้นเหมือนกัน ซึ่งจะเกิดจากมีผู้ริเริ่มโปรเจคใดโปรเจคหนึ่งขึ้นมา แล้วก็จะสร้างเหรียญในระบบขึ้นมาเหรียญหนึ่งก่อนจากนั้นก็ทำการเปิดขายเหรียญให้คนที่สนใจโปรเจคมาซื้อถือเหรียญนี้ร่วมกับเจ้าของโปรเจค ซึ่งในอดีตเหรียญดังๆ อย่าง ETH, BNB ก็เคยทำ ICO แต่การระดมทุนในลักษณะนี้ในบางครั้งก็มีการหลอกลวง เช่น โปรเจคไม่เกิดแต่เจ้าของที่ทำการระดมทุน ICO เอาเงินไปเรียบร้อยแล้วก็มี

Airdrop – การที่เจ้าของโปรเจคแจกเหรียญให้เก็บฟรีๆ โดยเพื่อหวังผลให้คนนำมันไปใช้ จนได้รับความนิยม โดยตอนที่แจกเหรียญอาจจะมีมูลค่าไม่เยอะมาก แต่เมื่อโปรเจคได้รับความนิยมมูลค่าของเหรียญก็จะเพิ่มขึ้นจากการที่ผู้ให้ให้ราคาของเหรียญในการซื้อขายกันนั่นเอง

Governance token – เหรียญที่แพลตฟอร์ม หรือโปรเจคต่างๆ สร้างขึ้นมาเพื่อใช้งานในระบบ ซึ่งแต่ละแพลตฟอร์มก็จะบอกประโยชน์ของการใช้งานเหรียญนี้ได้ตามแต่จะกำหนด เช่นบางแพลตฟอร์มอาจจะใช้เป็นการโหวตเพื่อเปลี่ยนแปลงสิทธิ์ต่างๆ บนแพลตฟอร์มก็ได้ ยิ่งมีเหรียญมากคุณก็เหมือนกับมีสิทธิ์ในแพลตฟอร์มนั้นมากขึ้นด้วยนั่นเอง

Bull Market – ภาวะตลาดขาขึ้น ที่เหรียญส่วนใหญ่ในตลาดราคาขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในตลาด Crypto currency ก็เป็นช่วงนี้มาตั้งแต่ปี 2019 แล้วยังเป็นอยู่จนถึงปี 2021 นี้

Bear Market – ภาวะตลาดขาลง คือเหรียญส่วนใหญ่ในตลาดราคาลง หรือนิ่งอยู่กับที่ยาวนานเป็นหลายเดือนจนถึงเป็นปี ซึ่งอาจจะเกิดจากนักลงทุนเริ่มไม่มั่นใจในการใส่เงินลงมาในตลาด หรือวิกฤตเศรษฐกิจ

FUD (Fear Uncentainty Doubt) – อาการที่รู้สึกหวาดระแวงวิตกจนต้องขายเหรียญแบบผิดจังหวะ ทำให้แทนที่จะได้กำไรจากการขายเหรียญอาจจะเป็นขาดทุนก็ได้ ซึ่งเกิดจากกลยุทธ์ในการสร้างความเชื่อให้นักลงทุนตัดสินใจผิดพลาดจากการออกข่าวลวงต่างๆ นั่นเอง

FOMO (Fear Of Missing Out) – แปลเป็นคำที่เราเข้าใจกันดีคือ “กลัวตกรถ(การซื้อเหรียญ)” อาการกลัวพลาดแบบนี้พอเกิดในคนหมู่มากจะคล้ายอุปทานหมู่ทำให้ราคาเหรียญใดเหรียญหนึ่งราคาขึ้นสูงเกินจากไปไกล

Liquidity Pools – การที่เจ้าของแพลตฟอร์มสร้างระบบที่สามารถให้เจ้าของเหรียญนำเหรียญที่ตัวเองถืออยู่ไปปล่อยให้คนอื่นเอาไปสร้างประโยชน์เพื่อให้เกิดกำไรได้ โดยเจ้าของเหรียญก็จะได้ผลตอบแทนกลับมาคล้ายการนำเหรียญที่ถืออยู่ไปปล่อยกู้นั่นเอง

Hot wallet – กระเป๋าเก็บคริปโตที่เชื่อมต่อบนอินเตอร์เน็ต มีทั้งแบบซอฟแวร์ และแอพลิเคชั่น เช่น Metamask หรือ Exchange ต่างๆ ที่เราเทรดเหรียญกันอยู่

Cold wallet / Hardware wallet – Wallet สำหรับเก็บข้อมูลที่ไม่ได้เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ต ทำให้แฮคเกอร์เข้าถึงได้ยากกว่า Hot wallet ซึ่งวิธีการทำงานของ Cold wallet นั้นไม่ได้เก็บเหรียญไว้ในตัวมันเอง แต่มันจะเก็บสิ่งที่เรียกว่า Private key ที่ทำให้เราเข้าถึงเหรียญของเราที่อยู่บน Blockchain ได้นั่นเอง

(Source – Medium)

Seed phrase – ชุดรหัส 12, 24 คำ ที่สร้างโดยโปรแกรมคอมพิวเตอร์ของ Crypto currency wallet เพื่อใช้สำหรับเป็นรหัสสำรองในการกู้คืนสินทรัพย์ใน wallet

หวังว่าเพื่อนๆ จะได้เริ่มต้นลงทุนในทรัพย์สินชนิดใหม่นี้อย่างสนุกสนาน และความลงทุนมีความเสี่ยง โปรดหาข้อมูลก่อนตัดสินใจลงทุนทุกครั้งนะครับ

W. Charoenchit

Online Marketing | BD @ ThisIsGame Thailand | Admin AV idol Fanpage | Admin รวมดาวสาว Office | Gamer l Toy collector | Food Hunter

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save