‘Sadness Paradox’ ไขความลับว่าทำไมบางคนติดฟังเพลงเศร้า - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
‘Sadness Paradox’ ไขความลับว่าทำไมบางคนติดฟังเพลงเศร้า

ในช่วงชีวิตที่ผ่านมา ทุกคนต้องเคยผ่านทุกความรู้สึกของจิตใจมาแล้ว ทั้งอารมณ์ด้านบวกที่ทำให้รู้สึกมีความสุข และอารมณ์ด้านลบที่ทำให้รู้สึกเป็นทุกข์ ทุกคนย่อมอยากมีความสุขจึงดิ้นรนหาทุกวิถีทางที่จะพ้นทุกข์ โดยเฉพาะอารมณ์เศร้าซึ่งเป็นอารมณ์ด้านลบที่ไม่มีใครอยากประสบ เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าคนที่ตกอยู่ในความเศร้านานๆ นั้นเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้า  

แต่ก็น่าแปลกที่มีผู้คนจำนวนไม่น้อยนิยมความ ‘เศร้าทิพย์’ ซึ่งก็หมายความว่า ชีวิตของพวกเขาก็ดูดีทุกอย่าง ไม่มีเรื่องให้เศร้า แต่กลับชอบอยากสัมผัสความเศร้าด้วยการฟังเพลงเศร้าหรือดูหนังเศร้า มิหนำซ้ำมันกลับทำให้พวกเขามีความสุขเพิ่มขึ้นอีกด้วย แล้วมันเป็นเช่นนั้นได้อย่างไร วันนี้เราจะพาทุกมาไขความลับในเรื่องนี้ ใครอยากรู้ตามมาเลย 

Sadness Paradox หรือ เศร้าทิพย์ คือกุญแจสำคัญของปรากฏการณ์นี้

ผู้คนจำนวนไม่น้อยชอบท้าทายในสิ่งที่ชีวิตประจำวันไม่ค่อยจะมีให้ได้ประสบพบเจอ ซึ่งอธิบายได้ในแบบเดียวกับการที่หลายคนชอบออกไปท่องเที่ยวผจญภัย หรือหาทำกิจกรรมอะไรที่ดูเสี่ยงเพื่อความตื่นเต้น  แน่นอนว่าเรื่องเสี่ยงๆ แบบนี้ ไม่สามารถพบเจอได้ในชีวิตประจำวันทั่วไป

เช่นเดียวกับคนที่ชื่นชอบความ เศร้าทิพย์ หรือ Sadness Paradox ซึ่งก็คือความชื่นชอบเสพความเศร้าทั้งที่ชีวิตประจำวันของพวกเขาดูแฮปปี้ดี ทุกอย่างราบรื่นทั้งเรื่องความรัก ครอบครัว และการงาน ดังนั้น ความเศร้าแบบทิพย์ๆ ก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งให้พวกเขาได้ดื่มด่ำ สัมผัส และเรียนรู้กับอีกความรู้สึกเศร้าที่ในช่วงเวลานั้นยังไม่ได้ประสบพบเจอ

เพลงเศร้าทำให้ดำดิ่งในความรู้สึกมากกว่าเพลงทั่วไป

หากคุณสังเกตดีๆ คุณจะพบว่าเพลงเศร้ามักเป็นเพลงฮิตติดชาร์ตเสมอทั้งเพลงไทย และสากล ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะเนื้อหา ของเพลงชวนให้เราดำดิ่งลงไปในความรู้สึกเศร้า ประกอบกับท่วงทำนองที่ช้า ซาบซึ้งกินใจ เพลงเศร้าจึงให้สุนทรียภาพในการรับฟังได้อย่างล้ำลึก

นักจิตวิทยาเผยว่า คนที่กำลังมีความเศร้า หากได้ฟังเพลงเศร้าจะช่วยให้พวกเขารู้สึกดีขึ้นได้มาก เพราะตัวเพลงเศร้าจะเป็นเหมือนเพื่อนที่รู้ใจคอยปลอบประโลม แม้ไม่มีใครอยู่ข้างกาย แต่ที่น่าทึ่งไปกว่านั้นก็คือเพลงเศร้ากลับทำให้คนที่ชีวิตมีความสุขอยู่ได้ฟังแล้วจิตใจสงบ และมีความสุขยิ่งขึ้นได้ ซึ่งปรากฏการณ์นี้ เรียกว่า Sadness Paradox นั่นเอง

เศร้าทิพย์ ทำให้เราเป็นคนสุขุมเยือกเย็น

การเปิดใจสัมผัสความเศร้าในวันที่เราไม่ได้เศร้าจริงนั้นหลายคนเชื่อว่ามีประโยชน์ พวกเขาจึงไม่เพียงแต่ฟังเพลงเศร้าเท่านั้น ยังนิยมดูหนังดราม่าเศร้าๆ อีกด้วย เพราะถือเป็นการเปิดประสบการณ์ช่วยให้พวกเขาได้ดำดิ่งลงไปรับรู้ความรู้สึกเศร้าอย่างสมจริง จนหลายคนชินชากับความเศร้า เห็นเรื่องเศร้าๆ ทั้งหลายเป็นธรรมดาของชีวิต และวันหนึ่งเมื่อความเศร้ามาเยือนจริงๆ คนที่ชอบเสพติดความเศร้าจะไม่ค่อยรู้สึกสะทกสะท้านเท่าไหร่ ไม่ว่าจะเป็น อกหัก ตกงาน หรือสูญเสียคนรัก พวกเขาก็รับไหว

อีกทั้งบางคนเวลามีอารมณ์ด้านลบแล้วไม่อยากแสดงอารมณ์ออกมา ไม่ว่าจะด้วยการเอะอะโวยวาย หรือร้องไห้ฟูมฟาย การฟังเพลงเศร้าจะช่วยเบี่ยงเบนความสนใจเราออกจากการแสดงออกซึ่งพฤติกรรมด้านลบ ดังนั้นการฟังเพลงเศร้าจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการระบายอารมณ์นั่นเอง

เศร้าเพื่อมีความสุขด้วยฮอร์โมน

ปิดท้ายด้วยคำอธิบายที่เป็นวิทยาศาสตร์การแพทย์ ซึ่งได้มีการพบว่า คนเราเมื่อประสบความเศร้าแล้วหากได้ร้องไห้ออกมาจะทำให้รู้สึกดีขึ้น ซึ่งนั่นก็เป็นเพราะว่าระหว่างที่เราร้องไห้ออกมาเพราะความเศร้านั้น ร่างกายจะหลั่งฮอร์โมน ‘โปรแลคติน’ (Prolactin) ออกมาเพื่อจัดการกับความเศร้า ทำให้เรารู้สึกผ่อนคลายมากขึ้น เช่นเดียวกับตอนที่เราฟังเพลง หรือดูหนังเศร้า ร่างกายก็จะหลั่งฮอร์โมนตัวนี้ออกมา ทำให้เรารู้สึกสงบ ผ่อนคลายลงได้เช่นเดียวกัน

อย่างไรก็ตาม จิตแพทย์แนะนำว่า เราควรเสพติดความสุขจากความ “เศร้าทิพย์” ด้วยความพอดี เพราะหากมากเกินไปก็อาจทำให้เราติดอยู่ในลูปความเศร้าโดยที่ไม่รู้ตัว เเละส่งผลต่อสุขภาพจิตของเราได้  

และนี่ก็คือ Sadness Paradox หรือ เศร้าทิพย์ อีกหนึ่งความรู้สึกทางจิตใจที่หลายคนชื่นชอบ ซึ่งมันก็แสดงให้เราได้เห็นแล้วว่าความเศร้าก็ไม่ได้แย่เสมอไป หากเรารู้จักเศร้าอย่างพอดี และมีสติเท่าทันความรู้สึกตัวเอง สำหรับใครที่กำลังเศร้าจริงก็อย่าดำดิ่งหมกมุ่นนานเกินไป เพราะอาจทำให้เป็นโรคซึมเศร้าได้ ส่วนใครที่ชอบเศร้าทิพย์ก็ควรหาความสุขจากความเศร้าแต่พอดี อย่าให้มันมากเกินไป เพราะเดี๋ยวจะกลายเป็นคนอ่อนไหว เจ้าน้ำตา นิยมความดราม่าได้ง่าย เมื่อได้ทราบแล้วก็ลองพิจารณาไปปรับใช้กัน

Sujate Wanchat

What one man calls God, another calls the laws of physics.

วิศวกร นักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ นักเขียนบทความ ชอบติดตามโลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย เรื่องราวการท่องเที่ยวผจญภัย มนุษย์ต่างดาว และสาวๆ เซ็กซี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save