"Spotlight Effect" ตอบคำถามว่าทำไมมนุษย์จึงต้องการให้ผู้อื่นสนใจ เพื่อก้าวข้ามข้อบกพร่องนี้ - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
“Spotlight Effect” ตอบคำถามว่าทำไมมนุษย์จึงต้องการให้ผู้อื่นสนใจ เพื่อก้าวข้ามข้อบกพร่องนี้

สังคมโลกในยุคปัจจุบันที่สื่อโซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทสำคัญอย่างมากในชีวิตประจำวัน ทั้งเป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร สาระความรู้ ความบันเทิง และกลายเป็นแหล่งธุรกิจสำคัญบนโลกออนไลน์

เราจะเห็นได้ว่าบุคคลที่มีชื่อเสียงสามารถสร้างรายได้เป็นกอบเป็นกำผ่านโลกโซเชียล และการที่ใครสักคนจะสร้างตัวตนให้เด่นให้ดังขึ้นในยุคนี้ก็ไม่ยากเหมือนสมัยก่อน เพราะเราสามารถสร้างตัวตนจนเป็นที่รู้จักผ่านโลกโซเชียลได้เลย

ด้วยความที่ใครๆ ก็อยากดัง ทำให้ตอนนี้คำว่า “หิวแสง” กลายเป็นคำยอดฮิตในโลกโซเชียลที่หลายคนคงเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันว่า ใครก็ตามที่กำลังหิวแสง แสดงว่าคนนั้นกำลังอยากดัง ด้วยการเรียกร้องความสนใจทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็นไปในทางที่ดีหรือไม่ก็ตาม

ในเชิงจิตวิทยานั้น พฤติกรรมหิวแสงเช่นนี้ถูกเรียกว่า Spotlight Effect ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่ควรได้รับการบำบัดอย่างถูกต้อง ก่อนที่มนุษย์ผู้หิวแสงทั้งหลายจะทำอะไรเลยเถิดจนขาดความยับยั้งชั่งใจ จนกลายเป็นการสร้างปัญหาต่อสังคม ดังนั้นวันนี้เราจะมาทำความรู้จัก Spotlight Effect กัน พร้อมกับหาทางก้าวข้ามความบกพร่องนี้

ที่มาคำว่า Spotlight Effect

ผู้ที่ให้คำนิยามคำว่า “Spotlight Effect” เป็นคนแรกของโลกก็คือ โธมัส จิโลวิช (Thomas Gilovich) และเคนเนธ ซาวิตสกี (Kenneth Savitsky) นักวิจัยด้านจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัยคอร์แนล ซึ่งได้ให้นิยามของคำนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1999 ที่อธิบายความถึงผู้คนที่มีความต้องการเรียกร้องความสนใจจากคนรอบข้างและสังคมจนเกินพอดี เข้าข่ายเป็นโรคจิตชนิดหนึ่งที่สมควรได้รับการบำบัด

โดย Spotlight Effect นี้เป็นการสร้างคำที่ล้อมาจากปรากฏการณ์ที่เราเห็นในการแสดงละครเวทีที่เมื่อแสงจากไฟสปอร์ตไลท์ฉายลงไปที่ใคร แสดงว่านักแสดงคนนั้นกำลังมีบทบาทเด่นที่ผู้ชมจะต้องให้ความสนใจ ดังนั้นนักแสดงคนใดที่เล่นได้ดี แสงจากสปอร์ตไลท์ก็จะฉายไปยังนักแสดงคนนั้นบ่อยๆ จนทำให้เขาและเธอโด่งดังเป็นที่รู้จักได้โดยง่าย นั่นจึงทำให้นักแสดงบางคนมีอาการหิวแสงจนเกินงาม พยายามเล่นเกินบทเพื่อเรียกร้องความสนใจบ่อยๆ จนอาจทำให้ละครไม่สนุกก็เป็นได้ นั่นจึงทำให้เราเปรียบเปรยคนที่อยากดังจนเกินงามเป็นนักแสดงละครเวทีที่กำลังหิวแสงนั่นเอง

วิธีการบำบัด “Spotlight Effect ” ที่ถูกต้อง

ความอยากเด่นอยากดังนั้นเป็นเรื่องปกติปุถุชนทั่วไปเป็นกันทุกคน เพราะในเชิงจิตวิทยาแล้ว ความดัง ก็คือการในใครคนหนึ่งได้รับการยินดีต้อนรับจากสังคมอย่างล้นหลาม ซึ่งจะเป็นเครื่องการันตีในการอยู่ในสังคมนั้นอย่างมีสุข มั่นคง ปลอดภัย แต่การที่ใครสักคนมีความต้องการอยากดังมากเกินไป จนเกิดเป็น Spotlight Effect หรือพฤติกรรมหิวแสงนั้นย่อมยอมทำทุกวิถีทางที่จะเรียกร้องความสนใจจากสังคมนั้น บางคนสร้างความเดือดร้อนปั่นป่วนแก่องค์กรด้วยการทำให้ทีมเวิร์คในองค์กรเสีย หรือกระทั่งสร้างความเสียหายแก่สังคม เช่น การทำให้เกิดการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายเพิ่มความแตกแยกวุ่นวาย  หรือบางคนยอมที่จะทำอะไรห่ามๆ เพื่อต้องการให้สังคมสนใจแม้จะมีผู้คนเข้ามาด่าว่า และชื่นชมก็ตาม  ซึ่งเราจะเห็นกันแล้วว่าอาการหิวแสงนี้ไม่ดีเลย หากมันไม่ได้รับการบำบัดอย่างถูกวิธี อาจทำให้สังคมและคนรอบข้างอาจไม่สงบสุขได้

การหิวข้าวสามารถบำบัดได้ด้วยการหาของมากินซึ่งทุกคนสามารถบำบัดได้ด้วยตัวเอง แต่การหิวแสงนั้นตรงกันข้าม เพราะมันจำเป็นต้องได้รับการบำบัดด้วยการตอบรับจากสังคม แล้วเราจะมีวิธีการบำบัดอาการหิวแสง สร้างความเด่นดังอย่างถูกวิธีได้อย่างไร ตามมาดูกันเลย

สร้างคุณค่า เอกลักษณ์ ความแตกต่างให้กับตัวเอง เพื่อตอบสนองสังคมในทางที่ดี

คนส่วนมากมักมองตัวเองเป็นที่ตั้ง เวลาที่ต้องการอยากดังก็มักจะตั้งโจทย์กับตัวเองว่า “ฉันจะดังได้อย่างไร?” “ฉันจะทำให้สังคมหันมาสนใจฉันได้อย่างไร?” การตั้งคำโจทย์แบบนี้จะทำให้เราหาคำตอบแบบหลงทิศหลงทาง จนสามารถที่จะอนุญาตให้ตัวเองทำอะไรก็ได้เพื่อให้สังคมสนใจแม้ว่ามันจะเป็นเรื่องไม่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมก็ตาม

การตั้งโจทย์ที่ถูกต้องก็คือ “ฉันจะสร้างคุณค่า เอกลักษณ์ ความแตกต่างให้กับตัวเองได้อย่างไร เพื่อตอบสนองสังคมในทางที่ดี?” การพยายามหาคำตอบให้กับโจทย์ข้อนี้ต่างหากล่ะที่จะเป็นวิธีการบำบัดอาการหิวแสงอย่างถูกต้องและยั่งยืน แม้มันจะต้องใช้เวลาที่ยาวนานกว่า แต่ก็คุ้มค่าที่จะทำ ซึ่งเราเห็นผลลัพธ์เราก็เห็นกันมาแล้วมากมาย ในทุกวงการ ไม่ว่าจะเป็นวงการบันเทิง วิชาการ และธุรกิจ ซึ่งผู้ที่ประสบความสำเร็จมีชื่อเสียงโด่งดังล้วนแล้วแต่ใช้เวลาสร้างคุณค่า เอกลักษณ์ ความแตกต่างเพื่อเติมเต็มความต้องการของสังคมได้อย่างลงตัว

ส่องแสงไปที่คนอื่นบ้าง อย่ามัวแต่การเรียกแสงให้ตัวเอง

เมื่อคุณหิวแสง ก็จงอย่ามัวแต่โฟกัสกับการเรียกแสงสว่างมาส่องให้กับตัวเองจนเกินงาม เพราะมันจะทำให้ทีมเวิร์คของทีมงานเสียไป คุณคงเคยเห็นตัวอย่างมามากมายแล้วกับการที่ทีมงานพัง ผลงานเจ๊ง เพราะในทีมมีตัวเด่นอยู่คนเดียว เช่น ภาพยนตร์บางเรื่องที่พระเอกพยายามจะทำตัวเด่นอยู่คนเดียว เล่นเอง กำกับเอง บู๊เอง ไม่มีตัวแสดงแทน สุดท้ายก็เจ๊งไม่เป็นท่า เพราะผลงานออกมาไม่ดี ไม่มีทีมเวิร์ค ทำให้ตัวหนังไม่ได้ถึงอรรถรสที่เป็นแก่นแท้ของมัน หรือจะเป็นทีมฟุตบอลที่มี “เดอะแบก” อยู่คนเดียวก็มักจะไม่ประสบความสำเร็จถึงฝั่งฝัน เป็นต้น

แนวทางที่ถูกต้องก็คือการร่วมกันทำงานเป็นทีมเวิร์ค เปิดโอกาสให้ทุกคนในทีมได้ฉายแววอย่างโดดเด่นร่วมกัน เมื่องานของทีมประสบความสำเร็จ ทุกคนก็ได้รับชื่อเสียงโด่งดังไปพร้อมๆ กันอย่างอิ่มอกอิ่มใจ

อย่าประเมินค่าของตนสูงกว่าความเป็นจริง

ในโลกโซเชียลทุกวันนี้เปิดโอกาสให้ทุกคนสามารถสร้างตัวตนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านต่างๆ ได้ไม่ยาก จนทำให้หลายคนมักประเมินคุณค่าตัวเองสูงกว่าความเป็นจริง อุปโลกน์ตนว่าเป็นกูรูด้านนั้นด้านนี้ เพื่อต้องการให้สังคมยอมรับ ซึ่งใครก็ตามที่ทำเช่นนี้คุณกำลังมาผิดทางแล้ว แม้ว่ามันจะช่วยบำบัดอาการหิวแสงได้บ้าง แต่ก็แค่ชั่วครั้งชั่วคราว เพราะเมื่อความจริงปรากฏว่าคุณก็ไม่ได้เก่งจริงอย่างว่า เชื่อเสียงกำมะลอที่สร้างมาก็เป็นอันต้องพังพินาศ ครั้นจะสร้างมันขึ้นมาใหม่ สังคมก็ไม่ให้ความเชื่อถือแล้วล่ะครับ

ทางที่ถูกต้องก็คือแทนที่จะเราจะเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างชื่อเสียงกำมะลอ เราควรเน้นการสร้างความสามารถที่แท้จริงให้เกิดขึ้นกับตัวเราเองก่อน ก่อนที่จะโปรโมทมันออกไป ซึ่งนั่นจะทำให้ชื่อเสียง ความยอมรับที่เราจะได้มานั้นคงอยู่กับเราตลอดไป

และนี่ก็คือ Spotlight Effect หรือพฤติกรรมหิวแสงที่กำลังได้รับความสนใจในโลกโซเชียลขณะนี้ และเราอยากจะอธิบายให้เพื่อนๆ ชาว The Macho ได้ทราบกัน เผื่อว่าใครกำลังหิวแสงอยู่จะได้หาวิธีบำบัดได้อย่างถูกต้อง ไม่สร้างความเดือดร้อนแก่คนสังคมและคนรอบข้าง ก็หวังว่าข้อมูลเหล่านี้คงจะเป็นประโยชน์ เมื่อได้ทราบแล้วก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กัน

Sujate Wanchat

What one man calls God, another calls the laws of physics.

วิศวกร นักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ นักเขียนบทความ ชอบติดตามโลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย เรื่องราวการท่องเที่ยวผจญภัย มนุษย์ต่างดาว และสาวๆ เซ็กซี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save