เผยความจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์กราดยิง (Mass Shooting) - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
เผยความจริงที่น่าสนใจเกี่ยวกับเหตุการณ์กราดยิง (Mass Shooting)

จากเหตุการณ์สะเทือนใจล่าสุดเมื่อช่วงคืนวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ที่ผ่านมา กับกรณีเหตุการณ์กราดยิง (Mass Shooting) อย่างน่าหดหู่ที่จังหวัดนครราชสีมา จนทำให้เกิดแฮชแทก #Savekorat และการวิพากษ์วิจารณ์ต่อเหตุการณ์นี้มากมายเป็นวงกว้าง  เหตุการฯกราดยิวดังกล่าวทำให้เกิดคำถามมากมาย อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการยิงน่าสลดนี้ มาลองดูสถิติเหล่านี้กัน

การกราดยิง (Mass Shooting) คืออะไร?

Gun Violence Archive กลุ่มวิจัยที่ไม่แสวงหาผลกำไร ได้ทำการศึกษา และติดตามการกราดยิงในสหรัฐฯ ได้บอกว่า การกราดยิง (Mass Shooting) ตามการนิยามของ FBI คือ ต้องมีผู้ถูกยิงในเหตุการณ์เดียวกัน 4 คนขึ้นไป รวมถึงตัวผู้ก่อเหตุได้ด้วย สามารถก่อการได้ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป แต่ส่วนมากมักพบว่ากระทำการเพียงลำพัง

มือปืนไม่ได้ป่วยเป็นโรคทางจิต

จากงานศึกษาของมหาวิทยาลัยโคลอมเบีย กล่าว่า มือปืนผู้ก่อเหตุนั้นส่วนใหญ่ไม่ได้มีปัญหาป่วยทางจิตแบบที่เราเข้าใจกัร ซึ่งจากการศึกษาพบว่ามีเพียงร้อยละ 5 หรือต่ำกว่าเท่านั้น ที่ผู้ก่อเหตุจะเป็นผู้ป่วยที่มีอาการทางจิต

การเล่นเกมส์ไม่ใช่สาเหตุ

จากงานสำรวจของมหาวิทยาลัยโคลัมเบียพบว่า ไม่มีความสัมพันธ์ใดเลยระหว่างเกมส์และเหตุการณ์กราดยิง แน่นอนว่าการเล่นเกมส์ต่างๆ อาจจะทำให้เด็กมีพฤติกรรมที่ก้าวร้าวขึ้น แต่มันไม่ใช่สาเหตุที่ทำให้คนๆ หนึ่งลุกขึ้นไปยิงคนอื่นแน่นอน ในขณะเดียวกันงานสำรวจชิ้นนี้ได้บอกว่า การที่ให้เด็กได้สัมผัสกับความรุนแรงจริงๆ ต่างหากที่เป็นส่วนหนึ่งของการเกิดการกราดยิง การซื้อของเล่นปืนให้ การพาไปล่าสัตว์ ฯลฯ และไม่ใช่เฉพาะปืน เท่านั้น อาวุธอื่นๆก็เช่นกัน การได้เรียนรู้ความรุนแรงและส่งเสริมในการใช้อาวุธและความรุนแรงนั้นเป็นบ่อเกิดสำคัญที่ทำให้มีเหตุการณ์หดหู่ในอนาคต

การถูกกลั่นแกล้งคือสาเหตุหลัก

งานวิจัยบอกว่า การถูกเหยียดหยาม กลั้นแกล้ง ล้อเลียน ถูกกีดกันจากสังคม หรือที่เรียกว่า การบุลลี่ (Bully) ในปัจจุบัน คือสาเหตุสำคัญในการกระตุ้นให้เกิดเหตุการยิงกราด

ผู้ก่อเหตุมีสติดี

ผู้ลงมือก่อเหตุกราดยิงส่วนใหญ่ล้วนมีสติดี จากงานเขียนของอดีต CIA  ชื่อ Marc Sageman กล่าวไว้ว่า ผู้ก่อการร้ายเกือบทุกคนรู้ตัวว่ากำลังทำอะไรอยู่ ในบางรายไม่ได้ใช้ยาเสพติด ไม่ได้มีอาการเจ็บป่วยทางจิต ติดเกมส์ และได้รับคำสั่งการเหมือนหุ่นยนต์ แต่พวกเขาค้นพบวิธีการระบายออกของปัญหาโดยใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น  และมองว่าเหตุการณ์ความรุนแรงอื่นๆที่เกิดขึ้นก่อนหน้าเป็นแรงบันดาลใจที่นำไปสู่การตัดสินใจลงมือกระทำบ้างด้วยตนเอง

สหรัฐฯ เป็นประเทศที่เกิดเหตุกราดยิงเยอะที่สุด

สถาบันสุขภาพแห่งชาติของสหรัฐ หรือ NIS ระบุว่า สหรัฐเป็นประเทศที่มีอัตราการเกิดเหตุกราดยิงเพื่อสังหารหมู่เป็นจำนวนมากครั้งที่สุดในโลก อยู่ที่ 90 ครั้งระหว่างปี 2509-2555 คิดเป็นสัดส่วนเกือบ 1 ใน 3 ของเหตุกราดยิงทั้งหมดที่เกิดขึ้นบนโลกภายในช่วงเวลาดังกล่าว

ปี 2019 คือปีที่เกิดเหตุการณ์กราดยิงมากที่สุดในสหรัฐฯ

ปีที่ผ่านมาถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่ เพราะแค่เพียงเริ่มปี 2019 ไปจนถึงกลางปี มีจำนวนเหตุการณ์กราดยิงในสหรัฐอเมริกาสูงถึง 251 ครั้ง นับจากการเก็บข้อมูลเดือน ม.ค. ถึง วันที่ 4 ส.ค.มีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ทั้งหมดรวมกันเป็นจำนวน 279 คน และบาดเจ็บสูงถึง 1,033 คน

การเข้าถึงอาวุธได้ง่าย = การก่อให้เกิดเหตุการณ์ยิงกราด

ศูนย์วิจัยพิวของสหรัฐคาดการณ์เมื่อปีก่อนว่า สหรัฐเป็นประเทศที่มีจำนวนอาวุธปืนหมุนเวียนในตลาดมากที่สุดในโลก อยู่ที่ประมาณ 270-310 ล้านกระบอก เทียบกับจำนวนประชากรทั้งประเทศอยู่ที่ราว 319 ล้านคน ซึ่งหมายความว่าชาวอเมริกันแทบทุกคนมีปืนเป็นของตัวเองอย่างน้อยคนละ 1 กระบอก

ยิ่งมีเวลาเตรียมตัวมาก ยอดผู้เสียชีวิตยิ่งมีมาก

วารสารวิชาการ Homicide Studies ซึ่งตีพิมพ์งานวิจัยเกี่ยวกับฆาตกรรม ระบุว่า  หากมือปืนมีเวลาเตรียมการมากเท่าใด ยิ่งทำให้ความแม่นยำของแผนการมีมากขึ้นเท่านั้น นั่นจึงทำให้พบยอดผู้เสียชีวิตของผู้บริสุทธิ์ต่อเหตุการณ์ดังกล่าวมากขึ้นไปด้วย

คนร้ายชอบที่จะได้รับความสนใจจากสื่อ

เมื่อเทคโนโลยีในปัจจบันทำให้มีการเข้าถึงข่าวสารได้ง่ายขึ้น แถมยังอัพเดตเรื่องราวต่าง ๆ ตลอด 24 ชั่วโมง กระทั่งการถ่ายทอดสด การขุดคุ้ยประวัติของผู้ลงมือก่อเหตุการณ์ถ่ายทอดให้สาธารณชนรับรู้ในวงกว้างนั้น ยิ่งทำให้เกิดเหตุการณ์ยิงกราดบ่อยครั้งขึ้น และเลวร้ายขึ้นไปเรื่อยๆ

การกราดยิง คือ การแข่งขัน?

มีผู้ลงมือก่อเหตุไม่น้อยที่คิดว่าการออกมาก่อเหตุการณ์กราดยิงทำร้ายผู้บริสุทธิ์ คือ การแข่งขัน โดยยอดของจำนวนผู้เสียชีวิตจะเปรียบเสมือนกับถ้วยรางวัลที่ใช้การันตีว่าพวกเขาทำได้มากกว่าคนอื่น อาจารย์ด้านอาชญวิทยาจากมหาวิทยาลัยอลาบามา บอกว่า “มีการแข่งขันเรื่องความฉาวโฉ่อยู่จริง ๆ การจะเป็นมือปืนที่ยิ่งใหญ่กว่าและดีกว่าคนที่มีมาก่อนหน้าคุณ” ถือเป็นเรื่องน่ารังเกียจอย่างมากในการกระทำแบบนี้

อยากเป็นที่จดจำในฐานะ “ทำให้มีคนตายมากที่ในประวัติศาสตร์”

จากการสัมภาษณ์หนึ่งในผู้ก่อเหตุ “โคลัมไบน์” ปี 1999 บอกว่า หนึ่งในเป้าหมายสำคัญของพวกเขานั่นก็คือ การสร้างขื่อเสียงอันยิ่งใหญ่ด้วยการเป็นผู้ทำให้เกิดการเสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์ของสหรัฐอเมริกา การอยากเป็นที่จดจำในสังคมทำให้พวกเขาออกมาก่อเหตุครั้งนี้

เคยเกิดเหตุการณ์ยิงกราดขึ้น 2 ที่ในวันเดียว

เมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2019 ได้เกิดเหตุการณ์ยิงกราด 2 ที่ในสหรัฐอเมริกา โดยเหตุการณ์ทั้งสองเกิดห่างกันเพียงไม่กี่ชั่วโมง “วันนองเลือดที่ร้ายแรงที่สุดวันหนึ่งในประวัติศาสตร์ของเท็กซัส” ผู้ว่าการรัฐเท็กซัส เกร็ก แอ็บบอตต์ กล่าวต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

โดยเหตุการณ์แรกเกิดขึ้นในช่วงเวลา 10.39 น. ที่ห้างวอลมาร์ตในรัฐเท็กซัส มีผู้บริสุทธ์เสียชีวิต 20 ราย และบาดเจ็บเกือบ 30 ราย ต่อมาในเวลา 01.07น. ได้เกิดเหตุการณ์ยิงกราดครั้งที่สองขึ้นที่รัฐไอโอว่า มีผู้เสียชีวิต 9 ราย และได้รับบาดเจ็บกว่า 16 คน ซึ่งประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐฯ ออกมาประณามว่าการโจมตีนี้เป็น “การกระทำที่ขี้ขลาด”

สถานที่เกิดเหตุมากที่สุด

ผู้ก่อเหตุมักเลือกสถานที่ที่จะมีผู้คนจำนวนมากอยู่รวมกัน อาทิ โรงเรียน ห้างสรรพสินค้า โบสถ์ คอนเสิร์ต เพราาะจำนวนที่มากในสถานทีเดียว จะหมายถึงตัวเลขของผู้เสียชีวิตที่เพิ่มมากขึ้นที่ผู้ลงมือสามารถกระทำได้ต่อเหตุการณ์กราดยิงนั้นๆ

เหตุการณ์การกราดยิงเปรียบเสมือนโรคระบาด

จากคำบอกเล่าของตำรวจหลายๆคดีตามที่นิตยาสารนิวยอร์คไทม์ตีพิมพ์ไว้ บอกว่า ผู้ลงมือก่อเหตุมักศึกษาเหตุการณณ์จากคดีก่อนหน้ามาเป็นอย่างดี และพยายามเตรียมการให้รัดกุมรอบคอบมากขึ้นเพื่อผลรับที่พวกเขาต้องการมากที่สุด ซึ่งทางมหาวิทยาลัย Arizona State พยายามศึกษารูปแบบการเกิดเหตุ โดยได้ผลการคำนวณทางคณิตศาสต์ว่า เหตุการณ์สังหารหมู่ที่มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 4 ราย จะสร้างการแพร่ระบาดทางความรุนแรง ก่อให้เกิดการนองเลือดครั้งต่อไปได้นานถึง 13 วัน ซึ่งในระหว่างนี้อาจมีเหตุอาชญากรรมเกิดขึ้นมากถึง 20 – 30 เปอร์เซ็นต์ เรียกได้ว่าความรุนแรงเช่นนี้ เปรียนเสมือน โรคระบาด ที่ยังไม่สามารถมียารักษาได้

อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์กราดยิงที่จังหวัดนครราชสีมา หรือ #savekorat ก็ยังเป็นเรื่องที่ใหม่มากในสังคมบ้านเรา ฉะนั้นการสอดส่องดูแลบุตรหลายอย่างใกล้ชิด พูดคุยและให้คำปรึกษากันอย่างสม่ำเสมอ ถือเป็นเรื่องเบื้องต้นที่สถาบันครอบครัวสามารถทำได้ เพื่อลดความรุนแรงและนำไปสู่สังคมที่ดีและปลอดภัยของทุกๆคนในอนาคต

Text – Little Gwa

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save