Nanocarboard ยานบินจิ๋วขนาดเท่าแมลงวัน ที่ NASA จะใช้บุกสำรวจดาวอังคาร - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
Nanocarboard ยานบินจิ๋วขนาดเท่าแมลงวัน ที่ NASA จะใช้บุกสำรวจดาวอังคาร

ดาวอังคารคือดาวเคราะห์ว่าที่บ้านหลังที่สองที่มนุษย์หมายมั่นจะไปตั้งรกรากอยู่อาศัยให้ได้ภายในปี ค.ศ. 2030 ที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าการที่เผ่าพันธุ์เราอาศัยอยู่บนดาวโลกบ้านเกิดเพียงดวงเดียวนั้นเสี่ยงเกินไปที่จะทำให้เราสูญสิ้นเผ่าพันธุ์ได้  เพราะหากเกิดวิกฤติการณ์หรือมหันตภัยอะไรกับโลก อย่างน้อยก็ยังมีเผ่าพันธุ์เราดำรงอยู่บนดาวแดงแห่งนี้อีกหนึ่งแห่งเป็นอย่างน้อย

แต่การจะไปอยู่ดาวอังคารนั้นไม่ใช่เรื่องง่าย มีข้อมูลหลายอย่างที่มนุษย์เราต้องเก็บรวบรวม ซึ่งที่ผ่านมาหลายทศวรรษเราก็ได้ทำการสำรวจดาวอังคารด้วยการส่งหุ่นยนต์สำรวจขึ้นไปหลายโครงการแล้ว มีทั้งที่เป็นยานสำรวจบินวนอยู่ในวงโคจรและหุ่นยนต์สำรวจภาคพื้น

แม้ว่าจะมีการส่งยานสำรวจไปยังดาวอังคารเป็นจำนวนมาก แต่ข้อมูลที่ได้กลับมานั้นยังไม่มากพอ การสำรวจยังคงต้องทำอีกมาก โดยเฉพาะข้อมูลด้านสภาพอากาศและแหล่งน้ำของดาวอังคารทั้งดวงดาวเป็นข้อมูลจำเป็นที่เราต้องได้มาให้ได้ก่อนที่จะส่งคนไปลงที่นั่น ด้วยเหตุนี้ทางนาซ่าจึงมีแผนจะส่งหุ่นยนต์จิ๋วที่เรียกว่า “Nanocarboard” ไปบินสำรวจทั่วดาวอังคารเพื่อเก็บรวบรวมข้อมูลให้ได้ตามที่ต้องการ ซึ่งรายละเอียดจะเป็นอย่างไรนั้น เรามาลองติดตามอ่านกันเล้ยย

หลักการและแนวคิดของหุ่นบินจิ๋ว nanocarboard สำรวจดาวอังคาร

ก่อนหน้านี้ NASA เคยมีแนวคิดที่จะส่งโดรนใบพัดที่มีลักษณะคล้ายเฮลิคอปเตอร์เพื่อไปสำรวจสภาพภูมิอากาศบนดาวอังคาร แต่ตอนนี้ลืมไอเดียนั้นไปได้เลย เพราะ NASA มีไอเดียใหม่ที่ล้ำหน้ากว่าเดิม ซึ่งนั่นก็คือหุ่นบินสำรวจจิ๋ว Nanocarboard ซึ่งยานสำรวจชนิดนี้อาจมีขนาดเล็กเท่าแมลงหวี่หรือแมลงวันแต่มันสามารถสำรวจ พร้อมเก็บข้อมูลได้ละเอียดเกี่ยวกับสภาพอากาศและแหล่งน้ำของดาวอังคารได้ทั้งดวงดาว

การลอยตัวของ Nanocarboard

จุดเด่นของหุ่นยนต์สำรวจจิ๋ว Nanocarboard ก็คือขนาดที่เล็กจิ๋ว มีน้ำหนักเพียง 0.3 มิลลิกรัมต่อลำ สามารถบินได้โดยไม่ใช้ปีกและใบพัด เพราะมันลอยตัวขึ้นไปในอากาศได้ด้วยหลักของแรงลอยตัว และมันจะปลิวล่องลอยไปตามกระแสลมของดาวอังคารเพื่อเก็บข้อมูลจนทั่ว ลมพัดพาไปที่ไหน มันก็จะปลิวไปที่นั่น ดังนั้นจำนวน nanocarboard เพื่อเก็บข้อมูลสภาพอากาศทั่วดาวอังคารก็คงต้องใช้ในปริมาณที่มากพอสมควร

โครงสร้างของหุ่นยนต์สำรวจจิ๋ว Nanocarboard

หุ่นยนต์บินสำรวจจิ๋ว nanocarboard นี้มีโครงสร้างเป็นแผ่นสี่เหลี่ยมผืนผ้าบางๆ ทำจากอลูมิเนียมไดออกไซด์ มีความหนาไม่กี่นาโนเมตร และกลวง บนลำตัวยานติดเซนเซอร์ไว้เพื่อเก็บข้อมูลที่ต้องการ โดยช่องกลวงเล็กๆ บนตัวยานที่เพื่อนๆ ได้เห็นในรูปนี้คือกุญแจสำคัญที่ทำให้หุ่นบินจิ๋วนี้ลอยตัวขึ้นไปในบรรยากาศของดาวอังคารได้ เพราะช่องกลวงนี้ก่อให้เกิดความแตกต่างของอุณหภูมิ (Temperature Gradient) ที่ตำแหน่งต่างๆ ของยาน ซึ่งจะทำให้เกิดการดึงอากาศไหลผ่านเข้ามาบนตัวยานเพื่อยกตัวยานให้ลอยขึ้นไปในบรรยากาศได้ แต่หลักการลอยตัวของ nanocarboard นั้นถูกออกแบบมาเพื่อใช้สำหรับดาวอังคารเท่านั้น

โครงสร้างของตัวยาน nanocarboard

 และนี่ก็คืออีกหนึ่งความก้าวหน้าของการโครงการสำรวจดาวอังคารโดย NASA ที่เราอยากจะนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ ก็หวังว่าจะเป็นที่ชื่นชอบของสายเทคโนโลยีกันทุกคน โดยเราเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่าโครงการ nanocarboard นี้จะทำให้มนุษย์เราเข้าใจสภาพอากาศ และค้นหาแหล่งน้ำบนดาวอังคารได้สำเร็จเร็วยิ่งขึ้น ซึ่งข้อมูลที่ได้จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งสำหรับการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์บนดาวอังคารในอนาคตอีกไม่กี่ปีข้างหน้านี้

ที่มา 1 | 2

Text – Sujate Wanchat

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save