MOVIE REVIEW | TIME TO HUNT ปล้น-ล่า-ฆ่า อย่างลุ้นระทึก พร้อมประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจ - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
MOVIE REVIEW | TIME TO HUNT ปล้น-ล่า-ฆ่า อย่างลุ้นระทึก พร้อมประเด็นทางสังคมที่น่าสนใจ

               TIME TO HUNT (2020) ถึงเวลาล่า เดิมทีในตอนแรกเตรียมจ่อควิลงฉายในโรงภาพยนตร์ประเทศเกาหลี แต่ด้วยพิษจากวิกฤตโรคระบาด Covid-19 จึงเปลี่ยนแผนมาลงให้ชมกันทางสตรีมมิ่งของ NETFLIX โดยภาพยนตร์เรื่องนี้เป็นผลงานของผู้กำกับมือดีอย่าง ยุนซองฮยอน (Yoon Sung-hyun) ที่เคยฝากผลงานโดดเด่นไว้ใน Bleak Night (2011) โคจรมาร่วมงานกับนักแสดงหนุ่มที่กำลังอยู่ในช่วงพีคสุด ๆ อย่าง ชเว อูชิก ที่เคยมีบทในหนังดังมากมาย ไม่ว่าจะเป็น Trian to Busan (2016) Okja (2017) และ Parasite (2019) 

               ซึ่งครั้งนี้พวกเขาต้องมาร่วมกันถ่ายทอดเรื่องราวที่ว่าด้วยอนาคตอันใกล้ ประเทศเกาหลีใต้ได้เข้าสู่ช่วงกลียุค บ้านเมืองเสื่อมโทรมเต็มไปด้วยสลัม เศรษฐกิจพังพินาศจนเงินวอนไม่มีค่า อำนาจรัฐเสื่อมถอย ความยากลำบากเหล่านี้ทำให้กลุ่มโจรมือใหม่ 4 คน ได้แก่ คีฮุน (เว อูชิก) จางโฮ (อันแจฮง) จุนซอก (อีแจฮุน) และ ซางซู (พัคจองมิน) คิดการใหญ่ขนาดจะปล้นคาสิโนเพื่อหลุดพ้นจากชีวิตห่วย ๆ แต่ที่พวกเขาคิดไม่ถึงก็คือสิ่งของบางอย่างที่พวกเขาปล้นมาพร้อมกับเงินมันกำลังจะนำความซวยและความหายนะยิ่งกว่าเดิมมาสู่ชีวิตพวกเขา

               พูดได้ว่าความสนุกของหนังเรื่องนี้คือ ความลุ้นและตื่นเต้นแบบ 2 ช่วงใหญ่ ๆ ช่วงแรกคือ การลุ้นไปกับแผนการปล้นที่พวกพระเอกต้องเข้าไปปล้นตู้เซฟของคาสิโนแถมยังต้องคอยเก็บกวาดล่องรอยต่าง ๆ ที่อาจสาวมาถึงพวกเขาได้ โดยเฉพาะฮาร์ดดิสก์ของกล้องวงจรปิดที่บันทึกเหตุการณ์ทุกอย่างไว้ พวกเขาจึงเก็บมันไปด้วยพร้อมกับเงินในเซฟ แต่ฮาร์ดดิสก์ตัวนี้กลับซ่อนความลับที่อันตรายยิ่งกว่าเงินที่พวกเขาปล้นมาเสียอีก 

การลุ้นช่วงที่สองนั่นก็คือ การหนีเอาตัวรอด หลังจากที่แผนการปล้นสำเร็จไปได้ด้วยดี ทุกคนในแก๊งต่างรับส่วนแบ่งของตัวเองและเริ่มแยกย้ายกันไป แต่ไม่ทันไร พวกเขาก็พบว่ามีใครบางคนกำลังไล่ล่าพวกเขาอยู่ จากภารกิจปล้นเพื่อชีวิตที่ดีขึ้นกลับกลายเป็นภารกิจหนีเอาตัวรอดจากการไล่ล่าสุดคลั่งของ ฮัน (พัคแฮซู) มือสังหารสุดเลือดเย็น  เพราะฉะนั้นความสนุกช่วงที่สองก็คือ การลุ้นระทึกไปกับการเอาตัวรอดของตัวละคร เรียกได้ว่าตัวหนังสามารถสร้างอารมณ์ร่วมให้ผู้ชมรู้สึกเอาใจช่วยตัวละครว่าจะรอดไหม จะถูกจับได้เมื่อไหร่ หรือจะเอาคืนตัวร้ายได้บ้างหรือเปล่า 

               อย่างไรก็ตาม ความลุ้นระทึกซ้ำไปซ้ำมาแบบนี้ก็สร้างความรู้สึกรำคานและเวิ่นเว้อให้ผู้ชมบางคนได้เหมือนกัน โดยเฉพาะคนที่คุ้นเคยกับหนังระทึกขวัญ/เอาชีวิตรอดจากการถูกไล่ล่าซึ่งหนังฝั่งฮอลลีวู้ดมีกันเกลื่อนมาแต่ไหนแต่ไร ใครที่รู้สึกเคยชินและเฉย ๆ กับหนังประเภทนี้อาจรู้สึกว่า 2 ชั่วโมงเป็นเวลาที่เวิ่นเว้อเกินไป อาจเพราะตัวหนังพยายามจะผสมผสานส่วนดีของหนัง “วางแผนปล้น” ที่ให้อารมณ์คล้าย Ocean’s ของฝั่งฮอลลีวูด เข้ากับหนังแนว “ไล่ล่าระทึกขวัญ” คล้าย ๆ เรื่อง No Country for Old Men  ถึงแม้มันจะออกมาสนุก ตื่นเต้น และลุ้นระทึกใช้ได้ แต่มันก็ต้องแลกมาด้วยความยาวหนังกว่า 2 ชั่วโมงที่อาจดูยืดยาดไปบ้างสำหรับบางคน

               อีกประเด็นหนึ่งที่ค่อนข้างน่าเสียดาย คือ Time to Hunt เปิดประเด็นทางด้านสังคม เศรษฐกิจ และการเมืองเอาไว้ได้ค่อนข้างน่าสนใจ ลองนึกภาพประเทศเกาหลีใต้ซึ่งเป็นประเทศในฝันของใครหลายคนที่อยู่ ๆ กลายเป็นประเทศเสื่อมโทรม เศรษฐกิจพังยับเยิน สังคมเต็มไปด้วยอาชญากรและคนเร่ร่อน ผู้คนต่างต้องดิ้นรนทุกวิถีทางเพื่อออกไปมีชีวิตที่ดีกว่ายังต่างประเทศ  แต่ด้วยความที่ตัวหนังถูกออกแบบมาให้เป็นหนังบันเทิงเต็มสูบ ทำให้ประเด็นต่าง ๆ ที่ว่ามานี้ถูกเซ็ตไว้เพื่อรองรับเหตุผลในการปล้นของตัวละครมากกว่าจะวิพากษ์อะไรจริงจัง  ดังนั้น เราจึงเห็นภาพของเด็กอ่อนหัดและอ่อนต่อโลก 4 คนเป็นเพียง “เหยื่อ” ที่ถูกนักฆ่ามืออาชีพสุดโหดไล่ล่าอยู่ข้างเดียว แต่อีกมุมหนึ่งก็น่าคิดว่า ถ้าเด็กหนุ่มทั้ง 4 คนต้องใช้ชีวิตอยู่ในสังคมที่โหดร้ายขนาดนั้น  หนุ่ม ๆ พวกนี้มันน่าจะเป็นคนแข็งแกร่งกร้านโลกได้มากกว่านี้หรือถึงขั้นเป็นอาชญากรตัวจริง เนื้อเรื่องคงเปลี่ยนจาก “เหยื่อ” กลายเป็น “ผู้ล่า” กันเลยทีเดียว

สามารรับชมได้ทาง NETFLIX

Text – Little Gwa

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save