Global Internet Network แนวคิดโครงข่ายอินเตอร์จากห้วงอวกาศ อนาคตที่กำลังจะมาถึงอีกไม่นาน!! - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
Global Internet Network แนวคิดโครงข่ายอินเตอร์จากห้วงอวกาศ อนาคตที่กำลังจะมาถึงอีกไม่นาน!!

สำหรับเรื่องราวเทคโนโลยีในครั้งนี้ เราจะพาเพื่อนๆ มารู้จักเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตแห่งอนาคตที่ปัจจุบันกำลังอยู่ระหว่างดำเนินการ เพื่อนๆ ทราบหรือไม่ว่าแม้ว่าโลกในยุคปัจจุบันจะก้าวเข้าสู้ยุคดิจิตอลบ้างประเทศก็เป็น 4.0 บางประเทศก็ 5.0  เเล้ว เเต่ในช่วงกลางปี 2017 ได้มีรายงานจาก Unesco’s Broadband Commission  มีประชากรโลกเพียงไม่ถึง 50% เท่านั้นที่สามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้  นั่นก็แสดงว่าเทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตปัจจุบันยังห่างไกลกับคำว่าเชื่อมต่อทุกชีวิตได้อย่างสมบูรณ์ 

นี่จึงเป็นที่มาให้เหล่านักธุรกิจและนวัตกรหัวก้าวหน้าทั้งหลายอยากลุกขึ้นมาเพื่อปฏิวัติวงการอินเตอร์เน็ตอีกครั้ง ด้วยการสร้างโครงข่ายกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่จากอวกาศเพื่อส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตให้ครอบคลุมทุกจุดทั่วโลก ซึ่งแนวคิดนี้จะไม่ได้เป็นเพียงสิ่งที่เพ้อฝันอีกต่อไป เมื่อยักษ์ใหญ่หลายเจ้าในวงการไอทีเริ่มขยับแล้ว ซึ่งนั่นหมายความว่าในอนาคตอันใกล้นี้ ชาวโลกสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ด้วย “โครงข่ายอินเตอร์เน็ตจากห้วงอวกาศ” (Global Internet Network) ซึ่งจะมีรายละเอียดอย่างไรเราลองไปติดตามกันเลย

บริษัทที่บุกเบิกไอเดีย “โครงข่ายอินเตอร์เน็ตจากห้วงอวกาศ” (Global Internet Network)

คงปฏิเสธไม่ได้เลยว่าอินเตอร์เป็นเทคโนโลยีที่เชื่อมคนทั้งโลกเข้าหากัน เเต่ก็ใช่ว่าทุกคนบนโลกจะสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้ เพราะยังมีหลายพื้นที่บนโลกที่การติดตั้งเสากระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตไปไม่ถึง เช่นบริเวณชนทบ ตามป่าเขาต่างๆ  ที่การลากสายและตั้งเสาสัญญาณเป็นสิ่งที่ไม่คุ้มค่าต่อการลงทุน  เเต่หากเป็นการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากนอกโลกเข้ามา เราก็จะสามารถก้าวข้ามข้อจำกัดเรื่องสภาพภูมิประเทศต่างๆเหล่านี้ไปได้    

Source – pc-tablet

มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก มหาเศรษฐีโลก ผู้เป็นเจ้าของโซเชียลหลักของโลกอย่าง Facebook ที่เชื่อมคนทั้งโลกเข้าหากันก็ได้เล็งเห็นความสำคัญของการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากนอกโลก Facebook จึงเป็นบริษัทแรกที่เริ่มสร้างดาวเทียมกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตเพื่อทดลองใช้กับทวีปแอฟริกา ซึ่ง มาร์ค คาดว่าถ้าโครงการนี้ทำสำเร็จ ก็คงจะสามารถเพิ่มจำนวนประชากรประเทศ Facebook ได้อีกเป็นจำนวนมาก  เเต่โชคดันไม่เข้าข้างเพราะดาวเทียมของเขาดันเกิดประสบอุบติเหตุเมื่อจรวด Falcon9 ของ SpaceX ที่ใช้ส่งดาวเทียมดวงนี้เกิดระเบิดที่ฐานปล่อยในเดือนกันยายน ปี 2016   ทำให้ความฝันของมาร์คหายวับไปกับตา เเละโครงการดาวเทียมกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตของมาร์คก็ต้องถูกชะลอโครงการไว้ชั่วคราว  ซึ่งด้วยเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้ มาร์ค ซัคเกอร์เบิร์ก ไม่ถูกกับ อิลอน มัสค์ นับจากนั้นเป็นต้นมา

โครงการ Starlink ของ อิลอน มัสค์

จากนั้นไม่นาน อิลอน มัสค์ ก็ได้ผลักดันให้บริษัท SpaceX เข้าสู่ธุรกิจดาวเทียมที่ให้บริการด้านอินเตอร์เน็ตอย่างเป็นทางการพร้อมกับสร้างโรงงานผลิตดาวเทียมที่ซีเอ็ตเทิล พร้อมกับการเปิดแผนการที่จะกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตทั่วโลกนั่นก็คือโครงการ Starlink ซึ่งเป็นแผนการที่ยิ่งใหญ่ทะเยอทะยานแบบที่ไม่เคยมีใครกล้าทำมาก่อนเป้าหมายคือการทำให้คนทั่วโลกทุกคนสามารถเข้าถึงอินเตอร์เน็ตได้จากทุกพื้นที่   เเละในวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2018 สเปชเอ็กซ์ก็ได้เริ่มทำการปล่อยดาวเทียม Microsat-2a and Microsat-2b เพื่อเริ่มทดสอบในโครงการ Starlink และนับจากนั้นเป็นต้นมาก็มีการปล่อยดาวเทียมในโครงการ Starlink ขึ้นไปอย่างต่อเนื่อง

จำนวนดาวเทียมที่ต้องใช้ในโครงการ Starlink

ทีมงานในโครงการ Starlink ได้คำนวณไว้ว่าอาจจะต้องมีใช้ดาวเทียมส่งสัญญาณอินเตอร์เน็ตในห้วงอวกาศมากถึง 12,000 ดวงเชื่อมโยงกันเป็นโครงข่าย ซึ่งมากกว่าจำนวนดาวเทียมที่โคจรรอบโลกในปัจจุบันถึงประมาณ 3 เท่า  ซึ่งหากโครงการนั้นสำเร็จ Starlink จะสามารถสร้างรายได้มากถึง 1 ล้านล้านบาทต่อปี และจะมูลค่าการตลาดของ Starlink เติบโตมากขึ้นเรื่อยๆ อย่างไม่มีที่สิ้นสุด ตราบเท่าที่เทคโนโลยีอินเตอร์เน็ตยังมีการพัฒนาต่อไปเรื่อยๆ อย่างไม่หยุดยั้ง

บริษัทอื่นๆ ที่ลงทุนกับเทคโนโลยี โครงข่ายอินเตอร์เน็ตจากห้วงอวกาศ” (Global Internet Network)

ในโลกธุรกิจ เมื่อมีคนบุกเบิก ก็จะต้องมีคนตามจริงมั้ยล่ะครับ  เเละผู้ที่ตามมาร่วมวงด้วยก็คงหนีไม่พ้น Apple ยักษ์ใหญ่อีกเจ้าจากวงการไอทีที่ตอนนี้ได้ร่วมจับมือกับ Boeing ที่เป็นยักษ์ใหญ่ด้านการบินเเละอวกาศที่พร้อมจะเริ่มโครงการกระจายสัญญาณเน็ตจากนอกโลกเช่นกัน  ทำให้ต่อไปเราอาจได้ใช้บริการทุกอย่างจากไอโฟนได้โดยตรงโดยไม่ต้องผ่านบริการของค่ายมือถืออีกต่อไป 

Samsung เองก็เห็นข้อได้เปรียบในเรื่องนี้ จึงคิดทำโครงการนี้แบบเงียบบ้าง ซึ่งประมาทไม่ได้เลยครับ ซัมซุงเป็นบริษัทที่พูดน้อยเเต่ต่อยหนักจริงๆ เพราะซัมซุงมักจะทำสิ่งที่ยิ่งใหญ่โดยที่ก่อนหน้านั้นจะไม่ได้มีการคุยโม้ ตีปี๊บอะไรมากมาย เเต่พร้อมเมื่อไหร่ก็จะปล่อยของดีออกมาเลย

เเละอีกหนึ่งเจ้าสำคัญที่เราจะไม่พูดถึงไม่ได้ก็คือบริษัท One Web ที่หลายคนอาจไม่รู้จักว่า One Web เค้าให้บริการอะไร  บริษัทนี้เดิมมีชื่อว่า World Vu เป็นบริษัทผู้ให้บริการดูเเลเครือข่ายอินเตอร์เน็ตขนาดใหญ่รวมถึงการได้รับสิทธิ์ดูเเลแถบคลื่่นความถี่วิทยุขนาดใหญ่อีกด้วย บริษัทนี้ก่อตั้งโดย Greg Wyler ในปี 2012 ปัจจุบันมี Adrián Steckel เป็น CEO  กูเกิ้ลเองก็ใช้บริการบริษัทนี้

ในปี 2014 เกร็ก ไวเออร์ ได้รับเงินสนับสนุนจากเวอร์จินกรุ๊บ บริษัทในกลุ่มของริชาร์ด เเบรนสัน เเละ Qualcomm ในการสร้างดาวเทียมเเละระบบขนส่งอวกาศที่พร้อมจะต่อกรกับแผนการครองโลกของอิลอน มัสค์ เเละในปี 2017 บริษัท Web One ก็ได้จับมือกับบริษัท Blue Origin อีกหนึ่งบริษัทที่ทำเกี่ยวกับเรื่องการขนส่งอวกาศที่มีเจฟฟ์ เบโซส ชายผู้ร่ำรวยที่สุดในโลกเวลานี้เป็นเจ้าของ  โดยวัตถุประสงค์การร่วมมือนี้ก็เพื่อจะสร้างระบบโครงข่ายกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากอวกาศ  เพราะแน่นอนว่า Blue Origin มีจรวดขนส่งที่น่าเชื่อถือได้ 

แม้ว่าจะมีการประเมินรายได้ของธุรกิจการกระจายสัญญาณอินเตอร์เน็ตจากอวกาศไว้เพียงเเค่ 1 ล้านล้านบาทต่อปี ซึ่งต่ำมาก เมื่อเทียบกับธุรกิจใหญ่อื่นๆ เช่น ค้าปลีกของวอลมาร์ทที่มีรายได้มากถึงปีละ 15 ล้านล้านบาท เเต่นั่นเป็นเพียงการมองมุมแคบ ซึ่งถ้าเรามองให้ครอบคลุมถึงความเกี่ยวเนี่องกับธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องเเล้วล่ะก็คุณจะทราบว่าการครอบครองการเชื่อมต่อของคนทั้งโลกได้นั้นเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่มีมูลค่าอนันต์ไม่สามารถตีออกมาเป็นตัวเลขได้เลย ซึ่งขาใหญ่ทั้งหลายเขาทราบกันดี

Text – Sujate Wanchat

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save