หยุดความหลายมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรม เอสโตเนียกำลังจะใช้ AI จอมปัญญาในการตัดสินพิพากษาคดีความในประเทศ - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
หยุดความหลายมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรม เอสโตเนียกำลังจะใช้ AI จอมปัญญาในการตัดสินพิพากษาคดีความในประเทศ

สวัสดีเพื่อนๆ ชาว The Macho ทุกคน กลับมาพบกันเป็นประจำเช่นเคยกับการอัพเดทข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจในโลกเทคโนโลยี สำหรับครั้งนี้เราจะมาพูดถึงพัฒนาการการใช้เทคโนโลยี AI ที่ก้าวล้ำไปอีกขั้นในประเทศเอสโตเนีย

เมื่อพูดถึงเทคโนโลยี AI ก็ต้องบอกเลยว่า ทุกวันนี้ AI ได้ก้าวเข้ามามีบทบาทอย่างมากในสังคมโลกมนุษย์ในปัจจุบัน เพราะมันสามารถช่วยเราคิดวิเคราะห์งานยากๆ ด้านหลายอย่างพร้อมกัน และให้ข้อมูลการวิเคราะห์ที่เกิดประโยชน์ จับต้องได้ และมีประสิทธิภาพสูงมาก เช่น การวิเคราะห์ข้อมูล Big Data รวมถึงการวิเคราะห์ด้านการเงิน และวิเคราะห์หุ้นโดยใช้บอทเทรด เป็นต้น

และที่ล้ำไปกว่านั้นที่เราจะมาพูดถึงในครั้งนี้คือกรณีของประเทศเอสโตเนียที่กำลังจะเริ่มทดสอบการใช้ AI ในกระบวนการตุลาการเพื่อตัดสินคดีความต่างๆ ซึ่งจะเป็นการขจัดข้อครหาเรื่องความหลายมาตรฐานที่มักเกิดขึ้นจากการใช้กฎหมายอย่างบิดเบี้ยวในสังคมอย่างที่เคยเป็นมา รายละเอียดเรื่องนี้จะเป็นอย่างไร ลองมาติดตามอ่านกันเล้ยย

ที่มาที่ไปของโครงการ AI ผู้พิพากษาในประเทศเอสโตเนีย

ข้อครหาว่ามีการใช้กฎหมายหลายมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมนั้นไม่ได้เกิดขึ้นที่ประเทศไทยที่เดียว จริงๆ แล้วมันก็เกิดขึ้นทุกที่ทั่วโลกนั่นแหละครับ หากถามว่าความหลายมาตรฐานในกระบวนการยุติธรรมนั้นมีจริงมั้ย คำตอบที่แน่นอนก็คือมีจริง  เพราะกฎหมายย่อมมีช่องว่างเสมอ และคนชั้นสูงทั้งหลายก็มักจะอาศัยช่องโหว่ทางกฎหมายเหล่านี้เอาตัวรอดในเวลาที่ตนทำผิด อีกทั้งบางกรณียังสามารถใช้อิทธิพลกดดันกระบวนการยุติธรรมให้ใช้ช่องโหว่ทางด้านกฎหมายตัดสินคดีความให้ได้ผลลัพธ์ที่เป็นคุณแก่ฝั่งตัวเอง ดังที่เราได้เห็นประจักษ์กันดีอยู่แล้วในสังคมว่าคนมีอำนาจมักทำอะไรก็ไม่ผิดเสมอ จากกรณีความอยุติธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นทั่วโลกทำให้เกิดแนวคิดในการจัดการกับความหลายมาตรฐานดังกล่าวในกระบวนการยุติธรรม ประเทศเอสโตเนียได้เริ่มนำร่องใช้ AI ตุลาการมาเป็น “จอมปัญญา” ในการพิพากษาคดีต่างๆ แล้ว หากสำเร็จ ต่อไปก็คงไม่ต้องใช้ผู้พิพากษามนุษย์ให้เปลืองแรง  

ความก้าวหน้าของประเทศเอสโตเนีย

ประเทศเอสโตเนียเป็นประเทศเล็กๆ ในทวีปยุโรปเป็นประเทศเล็กๆ ในโซนยุโรปเหนือ มีพื้นที่เพียง 45,277 ตารางกิโลเมตร และมีประชากรเพียงแค่ 1.4 ล้านคนเท่านั้น แต่ประเทศนี้มีความทันสมัย และมาตรฐานการดำรงชีวิตที่สูงมาก ล่าสุดรัฐบาลเอสโตเนียกำลังนำ AI มาใช้งานในระบบพื้นฐานต่างๆ ของประเทศครอบคลุมเกือบทุกระบบแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ฐานข้อมูลประชากร สวัสดิการพื้นฐานและสิทธิ์ต่างๆ ของประชาชน การจราจร รวมถึงการบริหารที่จอดรถด้วย ไม่เว้นแม้กระทั่งกระบวนการยุติธรรมที่ล่าสุดรัฐบาลเอสโตเนียกำลังฝึก AI อย่างหนักเพื่อให้มันกลายเป็นผู้พิพากษาตัดสินคดีความต่างๆ แทนผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์แล้ว

กระบวนการฝึก AI ให้กลายเป็นผู้พิพากษา

กระบวนการฝึก AI ให้กลายเป็นผู้พิพากษานั้นก็ไม่ต่างจากการฝึกสอนผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ โดยเริ่มจากการให้ AI อ่านเรียนรู้กฎหมาย และกรณีตัวอย่างการตัดสินคดีความต่างๆ ข้อดีคือ AI เรียนรู้ได้เร็วมาก มันอ่านหนังสือ และทำความเข้าใจคดีความต่างๆ ได้เร็วกว่ามนุษย์มาก ข้อดีประการต่อมาคือมันไม่มีความลำเอียง เพราะ AI ไม่มีหัวใจที่จะมาลำเอียงเข้าข้างฝ่ายได้ ไม่ว่าคุณจะมีอำนาจบารมีมาจากได้ก็ตาม ผิดถูกก็ว่าไปตามตัวบทกฎหมายเลย

อนาคตของกระบวนการยุติธรรม เมื่อ AI เข้าแทนที่

นั่นแสดงว่าในอนาคตอันใกล้นี้ AI จะเข้ามาแย่งงานของบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมน่ะสิ? คำตอบก็คือใช้แล้วล่ะครับ ดังนั้นหลักสูตรการศึกษาด้านนิติศาสตร์ทั่วโลกจึงจำเป็นต้องรีบปรับตัวเสียตั้งแต่วันนี้ หลายประเทศปรับหลักสูตรให้คนเรียนกฎหมายหันมาเรียนการเน้นเรื่องการเขียนโปรแกรมวิเคราะห์คดีความต่างๆ กันแล้ว โดยต่อไปบุคลากรในกระบวนการยุติธรรมอาจมีหน้าที่เพียงแค่ป้อนข้อมูลดิบและหลักฐานต่างๆ ในแต่ละคดีความเข้าไป ให้ AI ได้คิดวิเคราะห์อย่างเป็นระบบก่อนที่จะให้การตัดสินออกมาเท่านั้น โดยมีผู้พิพากษาที่เป็นมนุษย์ในระดับอาวุโสคอยเป็นพี่เลี้ยง และยืนยันความถูกต้องและความเป็นเหตุเป็นผลจากการตัดสินของ AI เท่านั้นเอง

และนี่ก็คืออีกหนึ่งความก้าวหน้าด้าน AI ที่เราอยากนำเสนอให้เพื่อนๆ ได้ทราบในครั้งนี้ เราก็ได้แต่หวังว่าเทคโนโลยี AI ตุลาการจะประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับระดับสากลในเร็ววัน และมีการนำมาใช้ในประเทศไทยเราบ้างในไม่ช้านี้ เพื่อกระบวนการยุติธรรมจะได้คงความยุติธรรม เป็นที่พึ่งพาได้ของประชาชนได้อย่างไม่มีข้อครหาว่าใช้หลายมาตรฐานดังที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

ที่มาFuturism

Sujate Wanchat

What one man calls God, another calls the laws of physics.

วิศวกร นักท่องเที่ยว บล็อกเกอร์ นักเขียนบทความ ชอบติดตามโลกเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าล้ำสมัย เรื่องราวการท่องเที่ยวผจญภัย มนุษย์ต่างดาว และสาวๆ เซ็กซี่

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save