เคยมีใครบางคนบอกไว้ว่า เมื่อเสียงเพลงแห่งยุค 80s ดังขึ้น คนส่วนใหญ่จะรู้ได้ทันทีว่า นั่นคือเพลงที่ถูกปล่อยออกมาในยุค 80s เพราะว่าเพลงในยุคนั้นมีเสียงที่มีความเป็นเอกลักษณ์ และมีการถ่ายทอดความรู้สึกที่ผ่านออกมาที่แตกต่างจากยุคอื่นๆ

ใช่แล้ว แม้แต่คนทั่วไปก็สัมผัสได้ว่าเพลงยุค 80s นั้นแตกต่าง แต่ในบทความนี้เราจะมาพูดถึงเกี่ยวกับการทำดนตรีในยุคนั้นว่า ทำไมเขาถึงทำเพลงได้เป็นเอกลักษณ์เช่นนี้
เสียงกลองสังเคราะห์
หากจะหาอะไรที่บ่งบอกว่าเพลงๆนั้นเป็นเพลงที่ทำขึ้นในยุค 80s หรือยุคที่ใกล้เคียงกัน ต้องตอบตรงนี้เลยว่า สิ่งนั้นคือ เสียงกลองสังเคราะห์ และมันคือสิ่งที่ทำให้เพลงในยุคนั้นเป็นที่นิยมจนมาถึงตอนนี้
ต้องบอกตามตรงว่าในยุค 80s นั้น เทคโนโลยีในการทำเพลงทีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมาก โดยสังเกตได้จากการนำเสียงสังเคราะห์มาใส่ในเพลงแทบจะทุกเพลงในช่วงเวลานั้น
แน่นอน ไม่ใช่ทุกศิลปินที่ประสบความสำเร็จในการทำเพลงยุคนั้น Led Zeppelin กับ The Clash คือ 2 ศิลปินที่ถูกยกย่องมากที่สุด เนื่องจากเพลงของทั้ง 2 วงนี้ มีการรวมเสียงดนตรีสังเคราะห์ เข้ากับเสียงเครื่องดนตรีไฟฟ้า โดยปราศจากกลิ่นไอของเสียงอนาล๊อกได้อย่างน่าฟังทีเดียว
แต่ก็ไม่ใช่ศิลปินทั้งหมดในยุคนั้นที่หันมาใช้เสียงกลองสังเคราะห์ในการทำเพลง ศิลปินบางคนยังคงชื่นชอบที่จะใช้เสียงกลองแบบดั้งเดิม เพราะที่จริงแล้วเพลงที่ใช้เสียงกลองสังเคราะห์แบบไม่ซับซ้อน ก็ไม่ต่างจากเสียงกลองแบบดั้งเดิมเท่าไหร่ และในบรรดาศิลปินที่ไม่นิยมใช้เสียงกลองสังเคราะห์ในยุคนั้นก็คือ Queen และ Gun N’ Roses แม้ว่าในบางเพลงเขาจะใช้เสียงกลองสังเคราะห์อยู่บ้าง แต่ในการแสดงสด เขายังคงใช้กลองชุดในการเล่นและได้ไม่ต่างจากกลองสังเคราะห์เลย
VoX และ Autotune
2 เทคโนโลยีนี้คือสิ่งที่เข้ามามีบทบาทในวงการเพลงยุค 80s อย่างมาก ในฐานะตัวกรองเสียงแบบดิจิตอล ในช่วงยุค 80s หรือยุคใกล้เคียง เอฟเฟคกรองเสียงได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของการทำดนตรี แต่แปลกที่ในยุคนั้นไม่ค่อยมีนิยมนำเอฟเฟคเหล่านี้มาใช้กับเสียงร้อง ในทางกลับกัน ในยุคนั้นพวกเขากลับนิยมใช้วิธีแก้ไขเสียงร้องแทน

ซึ่งในปัจจุบันเทคโนโลยีออโตจูน กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้ง ในฐานะเทคโนโลยีที่ใช้ปรับแต่งเสียงร้อง ทำให้มันดูเหมือนเป็นเวทย์มนต์ที่สามารถช่วยให้เสียงร้องที่สุดแย่ กลายเป็นเสียงร้องที่นำไปออกอัลบั้มได้ มันกลายเป็นเทคโนโลยีสุดเทพถึงขั้นที่นักร้องขั้นเทพที่ร้องเพลงเพราะอยู่แล้วบางคนก็เอาเจ้าเทคโนโลยีนี้ไปใช้เพื่อสร้างความแปลกใหม่
สำหรับเพลงแนวป๊อป เอฟเฟคที่ถูกนำมาดัดเสียงร้องชนิดนี้ถูกพัฒนาขึ้นมาตั้งแต่ยุค 80s แล้ว จนในปัจจุบันมันกลายมาเป็นส่วนสำคัญของการทำเพลงป๊อปไปในที่สุด และการที่คนนำมาใช้ในการดัดเสียงร้องในทุกวันนี้ ถือว่ามันเป็นเทคโนโลยีที่สมบูรณ์แบบการทำเพลงทีเดียว
การเล่นโดรนคอร์ด

การเล่นโดรนคอร์ดคือสิ่งที่พบได้ในแทบจะทุกเพลงของเพลงยุค 80s และวิธีการเล่นแบบโดรนคอร์ดนี้ถูกสร้างขึ้นโดยนักเปียโนท่านหนึ่งที่ใช้มือขวากดคีย์บอร์ดเป็นคอร์ด และใช้มือซ้ายเล่นเมโลดี้ไปพร้อมๆกัน เพื่อให้เสียงเพลงที่เล่นมีเสียงเบสมากขึ้น หรืออะไรประมาณนั้น
เทคนิคการเล่นดนตรีแบบนี้ได้รับความนิยมอย่างมากในยุค 80s และหนึ่งในเพลงที่ใช้เทคนิคนี้จนโด่งดังก็คือ Eye of The Tiger ของวง Survivor
การผสมผสานดนตรี
อีกหนึ่งคุณสมบัติเด่นของดนตรียุค 1980s ที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยสังเกตุก็คือ การผสมผสานของแนวดนตรีที่แตกต่างกัน จากเดิมที่การทำเพลงมักจะเริ่มจากการแต่งดนตรีทดลองขึ้นมา หรือดัดแปลงจากเพลงอื่น แต่ในยุคที่เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทต่อการทำเพลงมากขึ้น ทำให้การผสมผสานระหว่างแนวเพลงนั้นเป็นไปได้ จากที่ไม่มีเชื่อว่ามันจะสามารถทำได้
นับตั้งแต่ช่วงยุคปลาย 80s ถึง 90s เป็นช่วงที่การผสมผสานแนวเพลงถูกนำมาใช้บ่อยขึ้น เพื่อสร้างความแปลกใหม่ และหลากหลาย โดยเฉพาะการนำเพลงต้นฉบับมารีมิกซ์ใหม่ถือว่าเป็นการสร้างความแตกต่างในวงการเพลงพอสมควรเลยทีเดียวสำหรับยุคนั้น
ซึ่งเพลงแนวที่มักจะเอาดนตรีประเภทอื่นมาผสมผสานมากที่สุดในยุคปลาย 80s นั่นก็คือ ฮิพฮอพ พวกศิลปินชาวฮิพในยุคนั้นมักจะเอาเอกลักษณ์ของแนวเพลงชนิดอื่นมาใส่รวมกันกับดนตรีที่แนวฮิพฮอพ เพื่อสร้างสีสันให้กับวงการเพลงอยู่เสมอ
เมื่อคุณได้ยินเสียงเพลงยุค 80s คุณสามารถสัมผัสได้จากการฟังบางสิ่งที่อยู่ในยุคนั้น และสิ่งเหล่านั้นที่คุณสัมผัสได้ก็คือ เทคนิคการทำเพลงของพวกเขา ด้วยวิธีการอัดเพลงที่แตกต่างจากยุคอื่นอย่างสิ้นเชิง และเทคโนโลยีที่อยู่ในเพลงที่สุดจะโดดเด่น
แต่ไม่ว่าพวกเขาจะสร้างมันขึ้นมาได้อย่างไร สิ่งหนึ่งที่พวกเขาได้ฝากไว้ก็คือ ดนตรีของยุค 80s ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะอย่างแท้จริง
Text – Aekkung