ฤดูร้อนนี้ฉันเศร้า : อากาศร้อนทำให้คนเราเศร้า เหงา ซึมไม่แพ้ฤดูหนาว - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ฤดูร้อนนี้ฉันเศร้า : อากาศร้อนทำให้คนเราเศร้า เหงา ซึมไม่แพ้ฤดูหนาว

อากาศร้อน ๆ อย่างนี้มีคนอยู่สองประเภท ประเภทแรกคือคนที่เกลียดแดดกับเหงื่อไหลไคลย้อยเข้าไส้ กับอีกประเภทหนึ่งคือคนที่รักมันหมดหัวใจ เฉิดฉายอยู่ท่ามกลางสายลม แสงแดด และเสียงคลื่นซัดหาฝั่ง

ซึ่งประเภทที่สองนั้นมักจะเกิดกับคนเมืองหนาวมากกว่าคนที่คลุกกอยู่กับความร้อน 40 องศามาตั้งแต่เกิดอย่างคนไทย คือถ้าร้อนแล้วได้ไปอยู่ทะเลมันก็ต้องชอบใจอยู่แล้ว แต่ถ้าร้อนแล้วต้องติดแหงกอยู่ในเมืองใหญ่ อัดแน่นไปด้วยผู้คนที่เบียดเสียดกันบนรถไฟฟ้าและท้องถนนแล้วเป็นใครก็ต้องหงุดหงิดจนหัวร้อน

Oleksandr Pidvalnyi

ความจริงแล้วนอกจากฤดูร้อนอารมณ์จะทำให้เราพร้อมบวกตลอกเวลา นักจิตวิทยายังบอกด้วยว่าคนเรารู้สึกซึมเศร้าในช่วงอุณหภูมิพุ่งสูงอย่างนี้ไม่แพ้ฤดูหนาวที่ใคร ๆ ก็ว่าเหงาเลย

การที่อยู่ ๆ เรามีความรู้สึกว่าอารมณ์เปลี่ยนไปตามฤดูกาลนั้นมันมีชื่อเรียกว่า Seasonal Affective Disorder (SAD) หรือความผิดปกติทางอารมณ์ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศโดยรอบ ส่วนใหญ่จะเกิด 90% ในประเทศเมืองหนาว แม้อาการเศร้ามักจะรุนแรงในฤดูหนาวแต่ก็มีบ้างที่เกิดอาการนี้ในฤดูร้อนเช่นกันเพราะเกือบ 1 ใน 10 ของผู้มีอาการดังกล่าวบอกว่าเขารู้สึกซึมเศร้าในช่วงฤดูร้อน  

Norman Rosenthal ศาสตราจารย์คลินิกจิตเวชศาสตร์ที่ Georgetown University Medical School  หนึ่งในนักวิจัยที่บัญญัติคำว่า seasonal affective disorder (SAD) กล่าวถึงเรื่องนี้ว่า

“ในขณะที่หลายคนคิดว่าแสงแดดเป็นตัวแทนของความสุขและพลังงาน แต่สำหรับบางคนนั้นแสงแดดให้ผลตรงกันข้ามกันเลย  อากาศร้อนสามารถทำให้พวกเขารู้สึกวิตกกังวลได้”

หนึ่งในเหตุผลที่เรามักจะไม่โยงฤดูร้อนเข้ากับภาวะซึมเศร้าเพราะเราคิดว่าความเหงาความโดดเดี่ยวจะเกิดขึ้นในหน้าหนาวมากกว่า ซึ่งอาการซึมเศร้าในหน้าร้อนเองก็ตรงกันข้ามเลยกับพฤติกรรมที่แสดงในหน้าหนาวเลย บางครั้งเราจึงไม่คิดว่าเราจะหดหู่ใจได้ในหน้าร้อน

“ช่วงฤดูร้อนคนเรามักจะกินน้อยลงและน้ำหนักลดลง ขณะที่ฤดูหนาวเราจะกินอาหารมากขึ้นและน้ำหนักเพิ่มมากขึ้นด้วย รวมถึงการนอนหลับคนเราจะนอนได้เยอะขึ้นในฤดูหนาวขณะที่ฤดูร้อนเรามักจะมีอาการนอนไม่ค่อยหลับ ” Rosenthal กล่าว

การที่น้ำหนักลดและนอนดึกอาจฟังดูไม่แย่เท่าไหร่นัก ไม่ว่าจะฤดูไหนฉันก็นอนดึก แต่เรื่องของน้ำหนักลดนั้นโดยทั่วไปมักจะลดลงเพราะเราไม่ได้ทานอะไรลงท้อง ซึ่งการไม่ทานอะไรนี่เองที่ทำให้เรารู้สึกหมดแรง เหนื่อยล้า แน่นอนว่าการนอนหลับเองก็ไม่แตกต่างกันเมื่ออดนอนเยอะ ๆ ก็ก่อให้เกิดปัญหาทางสุขภาพตามมา

Solar Five

ในฤดูร้อนอย่างนี้ผู้คนจะมีความวิตกกังวลมากขึ้นแต่ไม่รู้สึกหงุดหงิดถ้ารู้สึกหดหู่อยู่ แม้ภาพจำของใครหลายคนจะรู้สึกว่าฤดูร้อนคือช่วงเวลาสำหรับการเก็บภาพวันหยุดพักผ่อนริมทะเลหรือออกไปสังสรรค์ ดื่มเบียร์เย็น ๆ กับเพื่อน แต่คนที่ไม่รู้สึกตื่นเต้นแบบนั้นร้อน ๆ อย่างนี้เขามักจะพยายามขจัดความรู้สึกเศร้าหรือหดหู่ออกไป

ในหนังสือ Winter Blues ของ Rosenthal  ได้เปรียบเทียบผู้ที่มีความผิดปกติทางอารมณ์อันได้รับผลกระทบจากภาวะอากาศโดยรอบระหว่างในช่วงฤดูหนาวกับฤดูร้อนเอาไว้ ผลจากเก็บข้อมูลใน Mid-Atlantic พบว่าภาวะซึมเศร้าช่วงฤดูหนาวมีจำนวนมากกว่าภาวะซึมเศร้าในฤดูร้อน แต่การซึมเศร้าในฤดูร้อนได้นั้นเป็นเรื่องธรรมดามากเพราะความร้อนที่เพิ่มขึ้นสามารถนำไปสู่ปัญหาต่าง ๆ อย่าง การขาดน้ำและการนอนไม่หลับตามมา

Rosenthal กล่าวว่าจริง ๆ แล้วอัตราการฆ่าตัวตายสูงที่สุดเกิดขึ้นในฤดูใบไม้ผลิและฤดูร้อน ไม่ใช่ในฤดูหนาว ซึ่งหมายความว่าผู้ที่ตกอยู่ภาวะซึมเศร้าช่วงฤดูร้อนมีความเสี่ยงสูงต่อการฆ่าตัวตาย  อันเป็นผลมาจากความกระสับกระส่าย วุ่นวายใจ ผสมกับภาวะซึมเศร้าที่เกิดขึ้น บ้านเราเองซึ่งเป็นเมืองร้อนก็มีรายงานการฆ่าตัวตายสูงขึ้นในช่วงเดือนเมษา-พฤษภาเช่นกัน ด้วยความที่อากาศร้อนทำให้คนเครียดนั่นเอง

อีกหนึ่งทฤษฎีที่น่าสนใจสำหรับการอธิบายปรากฎการณ์นี้ คือ การเปลี่ยนผ่านเข้าสู่หน้าร้อนอาจรบกวนนาฬิกาในตัวเรา ซึ่งส่งผลต่อการผลิตฮอร์โมน เมลาโทนิน (melatonin) ฮอร์โมนที่ช่วยรักษาระบบนาฬิการ่างกาย

CNN

Deborah Serani  นักจิตวิทยาผู้เขียน Depression in Later Life: An Essential Guide ทำการศึกษาเรื่องนี้ด้วยการทดลองกับผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งมีปัญหาด้านอารมณ์เมื่อเจอกับวันแดดร้อน เธอทำ MRI เพื่อดูการทำงานของต่อมไพเนียล (pineal gland) ซึ่งทำหน้าที่หลั่งเมลาโทนิน และพบว่าหญิงคนนั้นมีซิสต์เล็กๆ อยู่ที่ต่อมไพเนียล ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการตอบสนองต่ออากาศร้อนๆ รุนแรงกว่าคนปกติ

Serani  ยังบอกอีกว่าการอดรนทนไม่ได้กับความร้อนและเหงื่อชุ่มโชกก็มีส่วนทำให้เกิดความผิดปกติ ทั้งสองอย่างกระตุ้นให้อารมณ์และพฤติกรรมเปลี่ยนแปลง เช่น อยู่ไม่สุขและขี้หงุดหงิด

ที่สำคัญคือเมื่ออากาศร้อนขึ้น คนเราก็อยากโหยหาความสุขความสบายใส่ตัว แต่ความเป็นจริงกลับตรงกันข้าม เมื่อไม่ได้อย่างใจหวังความหงุดหงิดก็ตามมาและเมื่อทนอยู่กับความรู้สึกนี้เรื้อรังยาวนานก็พาลให้เกิดภาวะซึมเศร้าได้ในที่สุด

เข้าใจความรู้สึกนี้เลย ลองนึกถึงคนที่ต้องโหนรถเมล์จุคนไว้เต็มคันรถ ช่องว่างหายใจแทบไม่มีแต่ด้วยเงินเดือนที่พอมีให้จับจ่ายเดือนชนเดือน และความสะดวกสบายอย่างรถไฟฟ้ายังไปไม่ถึง ความร้อนที่เจอมาพร้อม ๆ กันกับความขมขื่นและน้อยเนื้อต่ำใจในชีวิตของตัวเอง จนทำให้ความเครียดเข้ามาเยือน ถ้ารู้สึกว่าร้อนนี้ฉันไม่ไหว ก็ลองแวะไปหาคุณหมอสักหน่อยเผื่อใจที่ร้อนลุ่มจะบางเบาลง

Source : 1|2

Suthamat
The girl with flowers tattoo

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save