ดื่มเหล้าแล้วคึก ดื่มผสมกันแล้วเมาเร็ว ความรู้สึกเหล่านี้แท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำเมา - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ดื่มเหล้าแล้วคึก ดื่มผสมกันแล้วเมาเร็ว ความรู้สึกเหล่านี้แท้จริงไม่ได้ขึ้นอยู่กับชนิดของน้ำเมา

เมื่อปีที่แล้วผลการศึกษาในวารสารทางการแพทย์ The BMJ ชี้ให้เราเห็นว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างชนิดกันก่อให้เกิดภาวะทางอารมณ์ที่แตกต่างกัน

จากการเก็บข้อมูลกลุ่มตัวอย่างกว่า 30,000 คน อายุระหว่าง 18-34 ปี  ทั้งหมด 21 ประเทศ พบว่าผู้ตอบแบบสอบถามเมื่อดื่มเบียร์ ไวน์และสุรา หลายคนกล่าวว่าแอลกอฮอล์แต่ละประเภทมีผลต่อพวกเขาแตกต่างกันไป โดยเครื่องดื่มประเภทเหล้ามีแนวโน้มที่จะดึงความรู้สึกด้านลบออกมาได้ดีกว่าแอลกอฮอล์ชนิดอื่น

เมื่อพวกเขาดื่มวอดก้า,จิน, รัม, เตกีล่า, ฯลฯ เข้าไปจะทำให้รู้สึกค่อนข้างก้าวร้าวและพลังงานเหลือล้น แต่พอเป็นไวน์แดงคนส่วนใหญ่กลับรู้สึกเหนื่อยและเซ็กซี่ขึ้น และเมื่อเป็นเบียร์พวกเขาจะรู้สึกผ่อนคลาย

Wine & Spirit Education Trust

หลายคนเองก็คงรู้สึกไม่ต่างจากผลงานวิจัยสักเท่าไหร่ แต่ความจริงแล้วไม่ว่าจะเป็นเครื่องดื่มมึนเมาชนิดไหนก็ตาม ส่วนผสมหลักที่ใช้งานเหมือนกันก็คือ เอทานอล (Ethanol) หรือเอทิลแอลกอฮอล์ (Ethyl Alcohol)  เริ่มแรกเมื่อคุณดื่มเข้าไปเอทานอลจะเข้าสู่กระแสเลือดผ่านทางกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก จากนั้นจะเคลื่อนที่เข้าไปสู่ตับ ซึ่งตับนั้นสามารถประมวลผลแอลกอฮอล์ได้ในปริมาณที่จำกัด ดังนั้นส่วนที่เหลือจะอยู่ในเลือดและเดินทางไปยังอวัยวะอื่น ๆ รวมถึงสมองส่วนควบคุมอารมณ์ของคุณ

ผลกระทบโดยตรงของดื่มแอลกอฮฮล์ต่างชนิดกันจึงเหมือนกันไม่ว่าคุณจะดื่มไวน์ เบียร์หรือเหล้า ไม่มีข้อเท็จจริงชี้ว่าเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ชนิดต่าง ๆ ทำให้เกิดอารมณ์ต่างกันและผู้คนก็จำสถานะอารมณ์ตัวเองขณะดื่มได้ไม่แน่ชัดนัก แล้วความเชื่อนี้มาจากไหนกัน? นักวิทยาศาสตร์ได้ศึกษาความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับแอลกอฮอล์โดยเฉพาะที่เรียกว่า “ความคาดหวัง”

หากคุณเชื่อว่าเครื่องดื่มชนิดใดชนิดหนึ่งทำให้คุณโกรธ เสียใจ หรืออยากมีเซ็กส์ได้ เราจะพัฒนาความคาดหวังจากหลายแหล่งข้อมูลรวมถึงประสบการณ์ของเราผสานเข้ากับของผู้อื่นจนทำให้เกิดความรู้สึกต่าง ๆ

ELEVATE

ยกตัวอย่างเช่น ไวน์ ที่ดื่มเข้าไปแล้วทำให้รู้สึกผ่อนคลายได้นั้นอาจเป็นเพราะเรามักจะจิบมันช้า ๆ ในบรรยากาศที่สงบ ผ่อนคลาย ส่วนเตกีล่าที่ทำให้รู้สึกบ้าคลั่งได้อาจเป็นเพราะเรามักจะดื่มเป็นแก้วช็อตขณะออกไปเที่ยวกลางคืน  หรือถ้าคุณเห็นพ่อแม่นั่งจิบเบียร์สองสามแก้วกับเพื่อนช่วงบ่ายแก่ ๆ ก็อาจจะคาดหวังว่าเบียร์คงทำให้เข้ากับคนง่ายขึ้น ซึ่งผลการศึกษาพบว่าเด็กอายุน้อยกว่า 6 ขวบ  มีความคาดหวังเกี่ยวกับแอลกอฮอล์ก่อนที่จะมีประสบการณ์ในการดื่มจริง ๆ ด้วยซ้ำ

เราสร้างความสัมพันธ์ระหว่างแอลกอฮอล์กับความรู้สึกต่าง ๆ ทั้งขณะรู้ตัวและไม่รู้สึกตัวทุกครั้งเวลาเราดื่มหรือเห็นคนอื่นดื่ม ซึ่งอาจได้รับอิทธิพลมาจากดนตรีและศิลปะด้วยเช่นกัน “Tequila makes me crazy” เป็นความเชื่อร่วมกันซึ่งเกิดขึ้นในเนื้อร้องเพลง Kenny Chesney และเพลง  Piano Man ของ Billy Joel’s อาจเสริมความคิดที่ว่าจินทำให้คุณรู้สึกเศร้าขณะลิ้มรสมัน

นอกจากนี้สารเคมีที่เรียกว่า สารคอนเจเนอร์ (Congeners) หรือสารอินทรีย์ที่ประกอบไปด้วยเอทานอลที่มากขึ้อันเกิดจากกระบวนการผลิตเองหรือจงใจเติมเข้าไปเพื่อแต่งสีแต่งกลิ่นและรสของผู้ผลิต ทำให้หลายคนเกิดความรู้สึกว่าเครื่องดื่มมึนเมาแต่ละประเภทรสชาติแตกต่างกันออกไป

Isabella Mendes

บางคนโต้แย้งว่าสิ่งเหล่านี้อาจมีผลทำให้เกิดอารมณ์แตกต่างกัน แต่ผลกระทบที่แท้จริงของเจ้าสารชนิดนี้นอกจากเรื่องของรสกับกลิ่นแล้ว มีแค่อาการเมาค้างตามฤทธิ์แอลกอฮอล์ที่ระบุเอาไว้ในฉลากเท่านั้น ไม่มีหลักฐานไหนระบุว่าสารเหล่านี้สามารถสร้างความรู้สึกหรือผลกระทบเชิงพฤติกรรมเฉพาะขณะดื่ม

ปัจจัยสำคัญที่เป็นผลต่อสภาพร่างกายและจิตใจจึงเป็นเรื่องของการดื่มชนิดต่าง ๆ ที่มีปริมาณแอลกอฮอล์แตกต่างกันออกไป ยิ่งคุณดื่มแอลกอฮอล์มากเท่าไหร่ก็จะยิ่งมีผลกระทบมากเท่านั้น

อย่างเหล้าจะมีความเข้มข้นของแอลกอฮอล์สูงกว่าเบียร์หรือไวน์อยู่เสมอ บ่อยครั้งที่เราสามารถกระดกได้อย่างรวดเร็วทั้งแบบช็อตหรือผสมมิกเซอร์ก็ตาม พอกินง่าย กินเยอะแอลกอฮอล์จำนวนมากจะเข้าสู่กระแสเลือดได้อย่างรวดเร็ว เป็นผลให้อารมณ์ของคุณเปลี่ยนไปตามความแอลกอฮอล์ในเลือดต่อมิลลิกรัมและอาการเมา

Life Of Pix

นอกจากนี้ความเชื่อที่ว่าดื่มเหล้าเบียร์หรือไวน์ผสมกันนั้นจะทำให้เมากว่าดื่ม Andreas Kalbitz นักวิชาการชาวเยอรมันกล่าวไว้ว่า “ยังไม่มีคำยืนยันทางวิชาการว่า การดื่มแอลกอฮอล์หลากชนิดจะมีผลให้เมาเร็วหรือเมาค้าง ” หมายความว่าถ้าเราเมาค้างหรือมีอาการแย่ละก็ ความผิดอยู่ที่ปริมาณที่เราดื่ม ไม่ใช่ความหลากชนิดที่เราดื่มวนไป

เรามักจะเปลี่ยนชนิดเครื่องดื่มต่อเมื่อเราเริ่มรู้สึกเอือมเอียนกับสิ่งที่กำลังดื่มอยู่แล้ว Kalbitz กล่าวเสริม “สมมติว่าเราดื่มเบียร์มาตลอด จนถึงจุดหนึ่งที่เราไม่อยากดื่มมันอีกแล้ว หรือดื่มมันได้น้อยลง แต่พอเปลี่ยนไปดื่มอย่างอื่น เราสามารถดื่มต่อได้อีกเรื่อยๆ จนมารู้สึกตัวอีกครั้งก็ตอนสายของวันรุ่งขึ้น”

สรุปก็คือไม่ว่าจะกินน้ำเมาชนิดไหนก็ตาม ความแตกต่างของอารมณ์เกิดจากความคาดหวังและปริมาณแอลกอฮอล์ในเลือดเป็นสำคัญ ส่วนที่เขาว่า เขาว่ากันนั้นมันไม่จริง

source : 1,2,3

Suthamat
The girl with flowers tattoo

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save