ทรงผม skinhead ครั้งหนึ่งในการเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงและการเยียดเชื้อชาติ - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ทรงผม skinhead ครั้งหนึ่งในการเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรงและการเยียดเชื้อชาติ

ปัจจุบัน สกินเฮด(skinhead) อาจเป็นแค่ผมทรงหนึ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปและเราก็มองว่ามันเป็นเพียงแฟชันที่ไม่ได้จำกัดแค่เฉพาะผู้ชายเท่านั้น แต่ผู้หญิงเองก็กล้าที่จะออกมาสั่งร้านตัดผมว่า “สกินเฮดค่ะพี่”  

คาดว่าความนิยมของสกินเฮดในปัจจุบันส่วนหนึ่งมาจากซีรีส์ Age of Coming ขวัญใจทุกวัยอย่าง Stranger Things เพราะหลังจากที่ซีรีส์เรื่องนี้โด่งดังเป็นพลุแตก เราก็เริ่มเห็นวงการแฟชันเลือกนางแบบหรือนายแบบตัดสกินเฮดเข้ามาใช้ในการถ่ายแฟชันมากขึ้นเรื่อย ๆ จึงเรียกได้ว่าทรงผมสกินเฮดของสาว Eleven เข้ามาขย่มวงการแฟชันยุคปัจจุบันก็ไม่ผิดนัก

techspot.com

แต่ก่อนที่ทรงผมหัวเกรียนนี้จะกลายเป็นเรื่องธรรมดาในสังคม ครั้งอดีตมันเคยมีความหลังที่เลวร้ายภายใต้การเป็นสัญลักษณ์ของความรุนแรง ของกลุ่มคนเหยียดสีผิวและเยียดชาติพันธุ์มาก่อน

เริ่มแรกเดิมทีสกินเฮดมีมาตั้งแต่ยุค 50s โดยได้อิทธิพลมาจากวัฒนธรรมของชาวจาไมก้าที่อพยพมาอยู่ยุโรปพร้อมกับนำเพลงสกาเข้ามาด้วย แต่กลายมาเป็น Sub-Culture ของวัยรุ่นอังกฤษจริง ๆ จัง ๆ ในช่วงปลายยุค 60s เด็กเหล่านั้นส่วนมากจะมาจากครอบครัวชนชั้นแรงงานมักจะอยู่กันเป็นกลุ่ม มีทั้งคนผิวขาวและผิวสีรวมกัน

โดยพวกเขาจะถ่ายทอดอัตลักษณ์ของชนชั้นแรงงานออกมาผ่านสไตล์การแต่งกายด้วยการสวมเสื้อโปโลหรือเสื้อเชิ้ตเข้าคู่กับกางเกงยีนส์ และนิยมใส่สายเอี้ยมด้วย ส่วนรองเท้าก็ต้องเป็นบูธหนังของ Dr.Martens ซึ่งการแต่งกายแบบนี้มีรากเหง้ามากจากชนชั้นแรงงานนั่นเอง แต่สิ่งสำคัญที่ทุกคนจะขาดไม่ได้เลย คือ ตัดต้องผมเกรียน

ja.play

ฟังดูก็ไม่เห็นจะรุนแรงอะไร ก็แค่แฟชันของเด็กกลุ่มหนึ่ง แต่จุดเปลี่ยนของเรื่องเพิ่งจะเริ่มต้น

ช่วงยุค 70s ตอนนั้นดนตรีพังก์ร็อกกำลังเริ่มเป็นความนิยมมากขึ้น เด็กสกินบางกลุ่มจึงรวมตัวกันในชื่อ Oi! ทำเพลงร็อกดุดันที่พูดเรื่องอำนาจรัฐ การถูกคุมขังโดยไม่ชอบธรรม และการว่างงานของชนชั้นแรงงาน

All That’s Interesting

แล้วลองจิตนาการดูว่าเมื่อเด็กวัยรุ่นผมเกรียนนมารวมตัวกันสนุกสุดเหวี่ยงไปกับปาร์ตี้เพลงพังก์ร็อก ดุดัน เร้าอารมณ์ ภาพมันจะเป็นแบบไหน ?

ใช่ ! พวกเขาตีกัน ความสนุกนั้นบางครั้งก็ถึงขั้นเลยเถิดไปสู่ความชุลมุนในที่สุด พอหลายครั้งเข้ามันก็กลายเป็นภาพจำของคนนอกไปเสียแล้ว สื่อส่วนใหญ่ก็มักพาดหัวจิกกัดและนำเสนอแต่ภาพความรุนแรงของพวกเขาอยู่บ่อย ๆ

ยิ่งไปกว่านั้นการงอกเงยของพรรคฟาสซิสต์ในยุค 80s ที่ทำให้เกิดแนวคิด นีโอนาซี(Neo-Nazi) ไปทั่วโลกก็ได้แทรกซึมเข้ามาในคราบของเด็กสกินหัวรุนแรงกับเขาด้วย ยุคนั้นเด็กสกินบางคนจึงมีเครื่องหมายสวัสดิกะอยู่บนส่วนใดส่วนหนึ่งของเสื้อผ้าหรือร่างกาย ทั้งยังมักมีทัศนติแย่ ๆ ต่อคนผิวสีและผู้อพยพ บางครั้งก็ลามไปถึงการเกลียดชังเพศทางเลือก เกลียดมุสลิม หรือยิวด้วย

Southern Poverty Law Center

เด็กสกินดั้งเดิมในอังกฤษที่มีรากเหง้ามาจากวัฒนธรรมผสมเห็นอย่างนั้นก็คงทนดูไม่ได้จึงร่วมกันก่อตั้งกลุ่ม Skinheads Against Racial Prejudice (SHARP) ขึ้น

ความเหมือนกันของทั้งสองกลุ่มนอกจากทรงผมแล้วเห็นจะเป็นเรื่องของดนตรีที่ต่างก็มีวงเป็นของตัวเอง  แต่อัมบั้มที่ถูกกล่าวถึงมากที่สุดเป็นอัลบั้ม compilation ที่ปล่อยออกมาจากฝั่งนีโอนาซีในชื่อ Strength Thru Oi! ซึ่งเป็นการเล่นคำกับสโลแกนของพรรคนาซีว่า ‘Strength Through Joy’

กลุ่ม SHARP เห็นแบบนั้นจึงยิ่งหงุดหงิดกว่าเดิมและไม่หยุดที่จะต่อต้านกลุ่มเหยียดผิวนี้ด้วยการจัดคอนเสิร์ต Oi! ขึ้นมา แล้วก็เป็นเหตุให้เกิดการปะทะกันกลางเมืองอยู่บ่อยครั้ง แต่ความอีรุงตุงนังยังไม่หมดเพียงเท่านี้ เมื่อหลังจากสถานการณ์ทางการเมืองจะคลี่คลายลง แต่กลุ่ม SHARP ยังคงติดใช้ความรุนแรงมาจากยุคก่อนและมีความเชื่อว่าฝังหัวว่าพวกนาซียังไม่หมดไป มันจึงเป็นเหตุบานปลายที่พอเห็นใครเข้าข่ายนาซีเป็นอันต้องไปรุมทำร้ายเขา

Vintage News

กรณีการโดนทำร้ายนั้น Jim Goad นักเขียนรับเชิญของ Vice เล่าว่าเขาเคยโดนแก๊งเด็ก SHARP รุมทำร้ายในเมืองพอร์ตแลนด์ เมืองที่ขึ้นชื่อว่าเป็นแหล่งของเด็กสกิน ข้อหาที่เขาใส่สร้อย iron cross อันเป็นสัญลักษณ์ของทหารเยอรมัน ซึ่งในเวลาต่อมากลายเป็นสัญลักษณ์ของพวกนาซี และเพียงแค่นั้นมันก็ทำให้เขากลายเป็นนาซีโดยอัตโนมัติ แต่ความตลกคือแฟนสาวของเขาเป็นยิว ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนั้นก็ทำให้เขานึกสงสัยว่าทำไมเราต้องเกลียดชังเข่นฆ่ากันด้วยเรื่องเหล่านี้ด้วย

ในตอนนี้ถึงแม้รูปแบบชีวิตของเด็กสกินยุคเก่าจะแทบไม่หลงเหลืออยู่แล้ว แต่ร่องรอยทางประวัติศาสตร์นี้มันสะท้อนให้เห็นได้ว่าการเหยียดผิวหรือเชื้อชาติยังไม่ได้หมดไป เพียงแต่เปลี่ยนมาเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง ทางออกของปัญหานี้ไม่ว่าจะเป็นยุคไหน ๆ คือ การยอมรับความแตกต่างเท่านั้นเอง

Suthamat
The girl with flowers tattoo

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save