โกหกยังไงไม่ให้โป๊ะแตก - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
โกหกยังไงไม่ให้โป๊ะแตก

ความซับซ้อนของสังคมมนุษย์อย่างหนึ่ง คือ เราไม่ชอบการถูกโกหกแต่ทุกคนกลับเคยโกหก

หากถามว่าตลอดชีวิตนี้มีใครไม่เคยโกหกไหม คงพบได้น้อยจริงๆ เพราะในหนึ่งวันคนเราถูกโกหกใส่มากถึง 10 – 200 ครั้งต่อวัน ถ้าเราไม่รู้จักกันมาก่อน จะโกหก 3 ครั้งใน 10 นาทีแรกที่เจอ ผลการสำรวจพบด้วยว่า เรามักโกหกเรื่องเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำจนเป็นปกติแต่มาจากเจตนาดี

การโกหกนั้นจะไม่มีทางสมบูรณ์ได้ถ้าเป็นการปรบมือแค่ฝ่ายเดียว มันจะได้ผลก็ต่อเมื่ออีกฝ่ายเชื่อในสิ่งนั้น อาจฟังดูโหดร้าย แต่ถ้าคุณถูกโกหกแสดงว่าคุณก็พร้อมที่จะเชื่อ

Henry Oberlander นักต้มตุ่นมืออาชีพ ผู้ถูกรัฐบาลอังกฤษประกาศว่าเขาเป็นภัยต่อธนาคารโลกตะวันตก เราอาจจะไม่เคยได้ยินชื่อเสียงเขามาก่อนก็ไม่แปลก เพราะค้นหาใน Google ก็ไม่พบอะไรเลย เขาเคยให้สัมภาษณ์ว่ากฏของผมมีแค่ข้อเดียว

“ทุกๆ คนจะยอมให้คุณอย่างเต็มใจ ถ้าคุณให้สิ่งที่เขาต้องการ”

เราโกหกกันเก่งมาตั้งแต่อ้อนแต่ออด โดยเริ่มจากเรื่องเล็กๆ ราวกับมันพรสวรรค์ที่ติดตัวมนุษยชาติมา มันถักทอเข้ากับชีวิต สังคม การเมือง ประวัติศาสตร์ และธุรกิจ การโกหกช่วยเติมเต็มช่องว่างของสิ่งที่ฝัน ที่อยากเป็น แต่ถ้าโกหกแล้วไม่เนียนทุกคนจับได้ จากที่จะช่วยให้ตัวเองดูดี กลับกันพวกเขาจะมองคุณในแง่ลบตลอดไป คุณจะถูกตีหน้าว่าเป็นคนลวงโลกถึงจะทำดีร้อยครั้งแต่ทำพลาดครั้งเดียวคือ “จบ”

1. สั้น กระชับ ตรงประเด็น

อย่างแรกเลย คนฟังมักจะดูความเป็นไปได้จากจำนวนข้อมูลหรือรายละเอียดของคำตอบ เช่น ถ้าไปทำงานสายแล้วคุณอธิบายเหตุผลยาวเยียดแจกแจงรายละเอียดตั้งแต่ออกจากบ้านจนถึงที่ทำงาน คุณก็จะโดนสงสัยละ เทคนิคง่ายๆ คือให้เหตุผลสั้นๆ ได้ใจความ อย่างขอโทษที่มาสายวันนี้เพราะรถติดมาก และควรหลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่เป็นทางการเกินไป

2. อย่าเล่นใหญ่ รัชดาลัย

สิ่งสำคัญถัดมาผู้ฟังจะเป็นความเป็นจริงด้วยการย้อนถามตัวเองว่า “มันมีแนวโน้มเกิดเรื่องแบบนั้นขึ้นได้ขนาดไหน?”  ถ้าตอบคำถามโดยอ้างเหตุผลที่ดูผิดแปลกไปจากเรื่องราวปกติ เช่น มีนาฬิกาหรู 20 เรือนแต่บอกว่าไม่ใช่ของคุณนะ แค่ยืมเพื่อนมาใส่ ถึงแม้ว่าอาจจะเป็นเรื่องจริง แต่มันเกิดขึ้นได้ยากหรือเว่อร์เกินไป! คุณก็จะถูกตัดสินว่าโกหกอยู่ดี ถ้าอยากแนบเนียนควรเลือกใช้ข้อแก้ตัวธรรมดา ง่ายๆ ปกติทั่วไปดีกว่า

3. ทำการใหญ่ใจต้องนิ่ง

จะโป๊ะหรือไม่โป๊ะก็ดูกันที่ข้อนี้แหละ ถ้าเราแสดงพฤติกรรมที่ดูกังวลออกไป ไม่ว่าจะทางสีหน้าหรือร่างกาย ร้อยทั้งร้อยยังไงก็รู้ เมื่อเห็นอย่างนั้นพวกเขาจะถามจี้จุดมากขึ้น “ทำไมต้องขึ้นเสียงสูง” “ทำไมต้องหลบตา” พวกเขาถามแค่ย้ำความน่าเชื่อถือเท่านั้น พออธิบายเหตุผลกลับไปท้ายที่สุดพวกเขาก็จะสมมติเอาเองว่าคุณสารภาพความจริงออกไปแล้ว ถึงแม้ว่าเราจะโกหกหรือบอกความจริงแค่ครึ่งเดียว ฉะนั้นหากตกอยู่ในสถานการณ์แบบนี้ ทำใจให้นิ่ง และอธิบายเหตุผลแต่เพียงพอดีว่าทำไมถึงมีอาการกังวล กรณี “มิ้ง” นั้นก็โป๊ะแต่ตั้งแต่เธอพยายามต่อล้อต่อเถียงใน Instagram ว่าทำไมท้องไม่ป่อง จนค้นไปค้นมาความจริงก็ปรากฏ ยิ่งพูดว่า “ไม่ได้โกหก” นั่นแหละโกหกอยู่

4.ไม่สนิทอย่าตีเนียน

สุดท้ายความสนิมสนมเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้ผู้ฟังเลือกเชื่อหรือไม่เชื่อ โดยพื้นฐานคนเรามักจะใช้ทัศนคติและความรู้สึกส่วนตัวมาตัดสินเรื่องพวกนี้ หากคุณได้รับความไว้ใจ ถึงสถานการณ์จะน่าสงสัยแต่พวกเขาก็พร้อมที่จะเชื่อ ยิ่งถ้าใส่เรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยลงไปด้วย จากความสงสัยจะแปรเปลี่ยนเป็นเป็นความห่วงใยแทน กรณีนี้มักเกิดกับเพื่อนเวลาขอยืมเงิน “ไม่มีเงินกินข้าวเลย เดี๋ยวสิ้นเดือนคืน” แต่ตรงกันข้ามถ้าไม่ได้สนิทไรกันมากมาย ผู้ฟังจะไม่ตกหลุมพรางคุณง่ายๆ แถมจะรู้สึกอึดอัดด้วยถ้าคุณพยายามตีซี้

การโกหกมีทั้งข้อดีและข้อเสีย แต่อย่างที่กล่าวไปข้างต้นว่าทุกคนเกลียดการโกหก การพูดความจริงอาจเป็นเรื่องที่ง่ายกว่าการหาเหตุผลร้อยแปดเพื่อมาทำให้ตัวเองดูดี แต่สุดท้ายก็พัง

อ้างอิง :truthaboutdeceptionpamela_meyer

Suthamat
The girl with flowers tattoo

บทความที่เกี่ยวข้อง

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save