ได้หรอ? เมื่อนิยามความเพราะของเพลงนั้นเปลี่ยนไป - The Macho
 
Roral Enfield - Hunter 350
728x150 - Nissan Almera
728x150 - Hunter4
ได้หรอ? เมื่อนิยามความเพราะของเพลงนั้นเปลี่ยนไป

หากเราพูดถึงดนตรีพวกเราส่วนใหญ่ล้วนคาดหวังว่ามันต้องเพราะ แต่คำว่าเพราะในที่นี้อาจจะหมายถึงเนื้อหาที่คมคาย สุขก็สุขจริงๆ โศกก็โศกจริงๆ ดนตรีที่ฟังง่าย หรือไม่ก็ฟังแล้วสนุกสนาน ชวนให้ลุกขึ้นมาเต้น

แต่ถ้าเป็นเพลงร็อคดนตรีก็ต้องหนักแน่น เนื้อเพลงตรงไปตรงมา ฯลฯ เหล่านี้มักจะเป็นสิ่งที่ผู้ฟังปกติทั่วไปต้องการ หรือคาดหวังจากเพลงสักเพลง ศิลปินและนักแต่งเพลงทุกคนจึงมักคำนึงถึงสิ่งเหล่านี้เสมอเมื่อต้องแต่งเพลงขึ้นมาสักเพลงหากอยากจะประสบความสำเร็จ หรือทำให้มีคนฟังเยอะๆ และชื่นชอบในผลงานดูเหมือนว่าการแต่งเพลงให้ดังนั้นจะมี “สูตร” สำเร็จของมันอยู่ ทำให้ค่ายเพลงใหญ่ๆ นั้นประสบความสำเร็จเป็นอย่างยิ่งในช่วงยุค 90 จนถึงยุค 2000 โดยทำตามสูตรของตัวเองสไตล์ดนตรีของค่ายใหญ่ๆ ในประเทศไทยนั้นจึงแตกต่างกัน แต่หากเรามองถึงวงการดนตรีไทยในปัจจุบันแม้ว่า “สูตร” สำเร็จนั้นอาจจะยังมีอยู่ แต่เรากลับพบ “สูตร” ใหม่ที่ทำให้ผู้ฟังนั้นหันมาสนใจ เผลอๆ นั่นจะเป็นกระแสได้มากกว่าเพลงปกติธรรมดาเสียอีก นั่นคือแทนที่จะทำให้มันฟังแล้วเพราะ ทำไมไม่ทำให้คนลืมมันไปเสียเลยล่ะ?

เพลง “ถังน้ำแข็ง” ของวง “ไปส่งกู บขส.ดู๊” ถึงอาจจะยังไม่ใช่เพลงแรกที่ไม่ได้ทำเอาเพราะ แต่ก็เป็นเพลงแรกๆ ที่ทำให้เกิดแรงกระเพื่อมในวงกว้างได้มากที่สุดในยุคแรกๆ ‘ถังน้ำแข็ง’ทำลายความคาดหวังของผู้ฟังไปหมดสิ้น ไหนล่ะคอร์ด? จังหวะล่ะ? นี่เนื้อเพลงหรอ?คำถามที่สำคัญที่สุดคือ นี่เรียกเพลงได้หรอ? แต่ต่อให้เราจะยังเถียงกันอยู่ว่านี่ใช่เพลงไหมถังน้ำแข็งก็ทำหน้าที่ในฐานะเพลงไปเรียบร้อยแล้ว

วงการเพลงไทยยังมีสิ่งที่น่าสนใจต่อไปอีกการมาของ “แร็พเอก” เพิ่มคำจำกัดความของดนตรีฮิปฮอปให้กว้างออกไปในแบบที่ประเทศต้นกำเนิดยังทำไมได้เสียด้วยซ้ำเมื่อแร็พเอกมาพร้อมกับสีหน้าขึงขัง ท่อนแร็พที่แคร์สัมผัสบ้างไม่แคร์บ้างจังหวะที่ซับซ้อนจนใครก็ยากที่จะเล่นตาม แม้ว่าแร็พเอกอาจจะต้องใช้เวลาพิสูจน์คำดูถูกอยู่พอสมควรแต่สุดท้ายเขาก็เป็นศิลปินจริงๆ ที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง ได้รับทั้งการยอมรับ และความเคารพจากศิลปินคนอื่นจริงๆ

ศิลปินไทยในปัจจุบันอย่าง “He Men Crown” ได้รับการจับตามองอย่างไม่กระพริบวงนี้มาพร้อมกับดนตรีแบบ “J-Rock” (บางเพลงก็เป็น Hard rock – ผู้เขียน) เนื้อหาและการเรียบเรียงดนตรีที่จัดได้ว่าไม่ธรรมดาแต่เนื้อหาที่ร้องออกมากลับคนละเรื่องของภาพลักษณ์เนื้อหาดนตรีชนิดที่ฟังแล้วไม่มีใครไม่มีปฏิกิริยาอะไรเลยในทางใดก็ทางหนึ่งทั้ง “Kodomo” ที่สร้างชื่อให้พวกเขาด้วยดนตรีที่จัดจ้านแต่เอาจริง ๆ ก็เล่าแค่ชีวิตประจำวันหรือเพลงล่าสุดที่เพิ่งปล่อยมิวสิควีดีโออย่างเพลง “He Men Crown” ที่ไม่ว่าใครจะว่าอย่างไร แต่เพลงนี้ก็ไม่มีอะไรมากกว่าร้องชื่อวงตัวเองจริงๆ นะสาบาน

อะไรทำให้เพลงแบบนี้เอาชนะเพลงที่แต่งมาเพราะๆ ดนตรีดีๆ ในขนบเดิมที่พวกเราคุ้นชินกันมานาน หรือพวกเขาเพียงแค่แต่งในสิ่งที่เขาอยากจะแต่งอยากจะทำในสิ่งที่เขาทำเท่านั้นเอง เอาเข้าจริงแล้วพวกเขาไม่ได้ทำเอาไม่เพราะ แต่ความไพเราะแบบปกตินั้นไม่ใช่เครื่องมือที่จะทำให้ผู้ฟังเข้าใจสิ่งที่ศิลปินต้องการจะสื่อเสมอไปแม้กระทั่งเนื้อหาแบบเพลงรักก็นั้นก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเครื่องมือในการสื่อสารอีกต่อไปถ้าเพลง “เพียงกระซิบ” ที่เป็นเพลงรักทำให้ผู้ฟังสนุกไปกับเพลงได้ฉันใดเพลงแป้งเด็กก็ทำให้ผู้ฟังสนุกได้เช่นเดียวกันแม้ว่าศิลปินไม่จำเป็นจะต้องเปลี่ยนมาทำเพลงแบบนี้กันหมด แต่สิ่งเหล่านี้ก็ทำให้เราเห็นว่านิยามคำว่าไพเราะนั้นถูกขยายออกไปได้มากแค่ไหน และสูตรสำเร็จของการทำเพลงนั้นคงจะไม่ตายตัวเสมอไปเสียแล้วหรือหากจะเป็นสูตรการทำเพลงโดยเชื่อในสิ่งที่ตัวเองชอบก่อนที่จะมองว่าจะมีคนกี่คนชอบเพลงของเรานั้นก็คงจะเป็นสูตรสำเร็จอีกสูตรหนึ่งเช่นกัน

Text – Kuakul

บทความที่เกี่ยวข้อง

FINAL FANTASY XIV STRATOCASTER®

FINAL FANTASY XIV STRATOCASTER®

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

Privacy Preferences

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

Allow All
Manage Consent Preferences
  • Always Active

Save